วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิ



+

การสร้างความยอมรับให้เกิดกับผู้บริโภคที่เกี่ยวกับสินค้าของธุรกิจขายตรงนั้น จะต้องดำเนินการเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจในตัวระบบธุรกิจ ให้ผู้บริโภคเข้าใจเกี่ยว กับธุรกิจ หลังจากนั้นจะเป็นการให้ผู้บริโภคได้รู้จักกับสินค้าและบริการของธุรกิจขายตรง โดยจะนำเสนอข้อมูลซึ่งเป็นความจริง ไม่โอ้อวด หรือการนำเสนอสรรพคุณเกินความจริง เพราะนี่คือผู้บริโภคยุคใหม่ที่พร้อมสำหรับการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจของ ตนเองได้เสมอ ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงเห็นว่า ธุรกิจขายตรงเองคงจะต้องปรับตัวเองเพื่อให้ เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พยายามเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อถือและเชื่อมั่นต่อสินค้าและบริการที่จะนำเสนอต่อไปจากนี้ และจะต้องมีความเข้าใจ กลุ่มผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัยว่ามีความต้องการแตกต่างกันอย่างไร ทำให้สิ่งสำคัญคือ ความ เข้าใจต่อกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของตนเอง บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด ได้ดำเนินการสำรวจมุมมองของผู้บริโภค ในแง่ของพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในหมวดของ ธุรกิจขายตรง และการเลือกซื้อสินค้าโดยทั่วไป เกี่ยวกับความแตกต่างในการเลือกซื้อ ดำเนิน การศึกษาเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 200 ตัวอย่างต่อครั้ง โดย นำข้อมูลมาทำการเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดของผู้บริโภคใน ปี 2553 และข้อมูลของ ผู้บริโภคในปี 2554
เริ่มต้นด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อสินค้า (ขนาดของสินค้า) ว่าโดย ส่วนใหญ่แล้วลักษณะของการเลือกซื้อนั้น ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งพบว่าพฤติกรรม นั้นมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ในปี 2553 ผู้บริโภคนิยมการเลือกซื้อแบบเลือกซื้อชิ้นใหญ่ๆ ซื้อครั้งเดียวใช้นาน คิดเป็น 44.0% แต่ในปี 2554 พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ คือ การเลือกซื้อในขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กหรือใหญ่จน เกินไป คิดเป็น 62.0% จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนในเรื่องของพฤติกรรมการเลือกซื้อ จะ มีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผู้บริโภคนั้นจะมีพฤติกรรม การเลือกซื้อแบบระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้นอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจอย่างไรในการเลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งมีจำหน่าย ทั้งในธุรกิจขายตรงและทั่วไป เช่น สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือเครื่องสำอาง พบว่า ในปี 2553 นั้นผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าในธุรกิจขายตรงใช้เป็นประจำ อยู่แล้วก็ยังคงมีพฤติกรรมเลือกซื้อสินค้าในธุรกิจขายตรงมากกว่าจะไปเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวในสินค้าโดยทั่วไป โดยเหตุผลหลักซึ่งทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในหมวด ธุรกิจขายตรงเป็นครั้งแรกเนื่องจากผู้บริโภคมีความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้ามากกว่า จะต้องไปเดินเลือกซื้อเอง จึงทำให้เกิดพฤติกรรมการเลือกซื้อในธุรกิจขายตรงขึ้น
แต่จะเห็นได้ว่าในปี 2554 นั้น ผู้บริโภคเห็นว่าจะเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวที่มีจำหน่าย โดยทั่วไปมากกว่าจะไปเลือกซื้อของธุรกิจขายตรง ซึ่งเหตุผลในการเลือกซื้อในสินค้าทั่วไป นั้นเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้า และยังคงติดกับยี่ห้อ (Brand) สินค้าของเก่าที่เคยใช้อยู่ (ซึ่งเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยทั่วไป) จึงทำ ให้ผู้บริโภคยังคงใช้สินค้าเดิมอยู่ไม่เปลี่ยนใจมาเลือกซื้อสินค้าของธุรกิจขายตรง
สำหรับพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้า และการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของธุรกิจขายตรงและสินค้าซึ่งมีจำหน่ายโดยทั่วนั้น พบว่า ผู้บริโภคในภาพรวมนั้นมีพฤติกรรมของการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแตกต่างกัน (องค์ประกอบ/ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อ) แตกต่างกัน ไม่ว่าผู้บริโภคในปี 2553 และ ในปี 2554 ต่างก็แสดงให้เห็นแล้ว ว่า ผู้บริโภคนั้นสามารถแยกแยะข้อมูล หรือความแตกต่างของสินค้าที่จำหน่ายในระบบ ธุรกิจขายตรงและระบบการจำหน่ายสินค้าโดยทั่วไปได้ และใช้ข้อมูลต่างๆ สำหรับการ ตัดสินใจแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังแปรปรวนเช่นนี้ ผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนจะต้องพร้อม รับมือและเรียนรู้แนวคิดของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยน แปลงไปตามสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในยุคของสังคมออนไลน์ที่ข้อมูลข่าวสารกระจาย อย่างทั่วถึง กระตุ้นการตัดสินใจเลือกซื้อหรือไม่เลือกซื้อได้ง่ายกว่ายุคก่อน

ไม่มีความคิดเห็น: