วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

SEO (Search Engine Optimization)

ขั้นตอนการทำ SEO ขั้นที่ 1 วิเคราะห์คู่แข่งและเลือกคีย์เวิร์ด



  


          ก่อนที่จะลงในเนื้อหา ขั้นตอนนี้ ผมจะพูดถึงเรื่อง SEO (Search Engine Optimization) กันก่อนนะครับ เผื่อมีบางคนหลงทางมาเจอ จะได้รู้ว่า SEO มันคืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องทำ SEO ทำไมมีคนกล่าวถึงกันมากเหลือเกิน (ในกลุ่มเว็บมาสเตอร์และคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ) ก่อนอื่น ผมขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นเทพจุติจากที่ไหน แต่อาศัยว่ามีประสบการณ์ในการทำ SEO มาพอสมควร นอกจากนี้ ก็ยังได้ถ่ายทอดให้น้องๆ อีกหลายคนทำตาม และก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคนอีกหล่ะครับ SEO มันไม่ได้เป็นกฏตายตัว (เราไม่ใช่กูเกิ้ล เอ็มเอสเอ็น หรือ ยาฮูนี่ครับ) มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครขยันหาข้อมูล รู้จักสังเกต นำมาปรับแต่งก็ได้เปรียบหล่ะครับ


SEO คืออะไร

          SEO (เอสอีโอ) มาจากคำเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายแบบบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น) 

SEO สำคัญยังไง

          อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ดังนั้น ผมสรุป ความสำคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ (ใครต้องการเพิ่มก็เขียนไว้ที่ คอมเม้นท์นะครับ)
  1. ทำให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆ ในการแสดงผลงการค้นหา
  2. การเขียน Title ที่ดี Keyword Intrend ช่วยทำให้สะดุดตา แม้อันดับต่ำกว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิกมากกว่า
  3. ทำให้เว็บเราถูกหลักของ W3C ซึ่งเป็นมาตรฐานของภาษาที่ใช้เขียนเว็บ ทำให้ดูสละสลวยเมื่อ Search Engine มาเจอก็เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
  4. เมื่อติดอันดับต้นๆ ทำให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีทราฟิก
  5. ติด Adsense ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูงด้วย เพราะมีทราฟิกก็มีโอกาส
  6. อื่นๆ
          เอาละครับ เรามาเริ่มลงมือวิเคราะห์คู่แข่งกันก่อนเลยนะครับ วิเคราะห์ยังไง ใครเป็นคู่แข่ง โดยการใช้หลักการ SWOT มาประยุกต์ใช้กับขั้นตอนนี้กันเลยครับ
ขั้นตอนการวิเคราะห์คู่แข่งโดยการใช้ SWOT Analysis
  1. S (Strengths) เราต้องมาดูก่อนนะครับว่า เว็บหรือบล็อกที่เราจะทำ มีแข็งตรงไหนบ้าง ที่จะเอาไปสู้เขาได้ เช่น Unique Contents หรือเปล่า, อัพเดทเร็วกว่าคู่แข่งหรือไม่ เป็นต้น
  2. W (Weaknessess) จากนั้นก็มาดูว่า เรามีจุดอ่อนตรงไหน เช่น เว็บเล็กๆ ที่บล็อกที่ไม่มีคนรู้จัก ต้องทำอย่างไร คนจึงจะรู้จัก รวมไปถึงการออกแบบเว็บต่างๆ อาจจะไม่สวยงามเหมือนเว็บคู่แข่งรายใหญ่ๆ เป็นต้น
  3. O (Opportunities) โอกาส อันนี้ต้องมองลึกๆ ให้ถึง Keyword trends หรือคีย์เวิร์ดตามเทศกาล ให้ทันและรวดเร็ว เช่น ช่วงเทศกาลสงกรานต์, วันหวยออก, หรือเหตุบ้านการเมือง ข่าวฉาวต่างๆ เราต้องรีบทำให้เร็วที่สุด จะได้ไม่พลาดโอกาสอันงามอันนั้นไป
  4. T (Threaths) อุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้เว็บของเราไม่โต อันนี้สำคัญมากๆ ต้องวิเคราะห์ดีๆ ก่อนนะครับ
ขั้นตอน ในการใช้เครื่องมือในการเลือกคีย์เวิร์ด
          หลังจากที่เราได้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนแล้ว เรามาดูว่า เมื่อเราจะทำเว็บแบบนี้ มีคู่แข่งเยอะหรือเปล่า รายใหญ่ๆ มีใครบ้าง ต้องสู้กันด้วยจำนวนคีย์เวิร์ดเยอะหรือไม่ มีคีย์เวิร์ดข้างเคียงหรือเปล่า โดยที่เราทำแล้วไม่เหนื่อยเกินไป  มาดูเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกคีย์เวิร์ดกันเลย
  1. ผมใช้ Google Keyword Tools External  ในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดก่อน
  2. หลังจากนั้นก็ใช้ Keyword Trends ใน Truehits เพื่อช่วยดูข้อมูลเพิ่มเติม เหมาะกับเว็บไทยๆ ดี
  3. เมื่อได้คีย์เวิร์ดแล้ว ก็ใช้ Google ค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นๆ แล้วดูว่า มีเว็บไหนเป็นคู่แข่งบ้าง เขาทำ SEO หรือไม่ (สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเขามีการปรับแต่ง Title, Keyword, Description หรือไม่ โดยการเปิดเว็บเขาแล้ว View Source ดูก่อน)
  4. ถ้าไม่มีคู่แข่งมาก หรือ เว็บนั้นๆ SEO ไม่ค่อยดี คิดว่าเราสู้ได้แน่ๆ ก็เก็บคีย์เวิร์ดนั้นๆ ไว้ก่อนเลย ผมแนะนำว่า ควรเก็บไว้ประมาณ 10 คำหลักๆ ที่เด่นๆ ที่สุดก็พอครับ

PPC - Pay Per Click


Pay Per Click คืออะไร

PPC คำนี้ย่อมาจากคำว่า Pay Per Click ซึ่งเป็นเป็นอีกส่วนหนึ่งของ Search Engine Marketing จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละ Search Engine เช่น PPC ของ Google จะเรียกว่า Google AdWords หรือ Y!SM ที่ย่อมาจาก Yahoo! Search Marketing ที่เป็นระบบ PCC ของ Yahoo.com และเรายังสามารถรวมไปถึงการทำโฆษณาบน Facebook หรือเรียกว่า Facebook Ads. อีกด้วย

PPC หรือ Pay Per Click คือ การซื้อโฆษณากับ Google ซึ่งเป็น search engine ยักษ์ใหญ่ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก(หรืออาจจะเป็น search engineที่อื่นก็ได้) ซึ่งเราสามารถทำการโฆษณากับ Google โดยการประมูลและให้ราคาใน Keyword หรือคำค้นหา ที่เราอยากทำการโฆษณาเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุดในพื้นที่หรือตำแหน่งของ ลิงค์ผู้สนับสนุนด้านข้างของหน้าค้นหาในหน้าแรกของ Google และ search engine เจ้าอื่นๆ






PPC มีประโยชน์อย่างไร
1. เพื่อการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการของคุณได้มากขึ้น การทำ PPC ที่ถูกต้องจะเป็นการเพิ่มปริมาณผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้มากขึ้น เพื่อจะส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการได้มากขึ้นนั่นเอง

2. ส่งผลในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงกว่าการทำการตลาดประเภทอื่นๆ เพราะการทำ PPC นั้น เป็นการโฆษณาที่ตรงตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างแท้จริง เพราะผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ทำการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ผู้บริโภคที่กำลังต้องการหรือมีความสนใจเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ อยู่ เมื่อใดที่โฆษณาของท่านที่ได้ทำระบบ PPC กับ Search Engine ไว้ปรากฏขึ้นมาในหน้าของการค้นหาหน้าแรก และอยู่ในขณะที่ผู้บริโภคทำการค้นหาข้อมูล ย่อมเพิ่มโอกาสในการซื้อหรือใช้บริการมากยิ่งขึ้นจากบริการของท่าน

3. การทำ PPC ยังรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เมื่อเริ่มดำเนินการโฆษณาสามารถทำงานได้ภายใน 30 นาที โดยที่ไม่ต้องใช้เวลานานเหมือนกับการลงโฆษณาประเภทอื่นๆ

4. กำหนดงบประมาณในการโฆษณาได้อย่างแน่นอนและยังสามารถควบคุมเงินค่าโฆษณาได้ 100% โดยการตั้งเป็น Daily Budget ไว้เราว่าจะจ่ายค่าโฆษณาต่อวันให้กับ Google เป็นจำนวนเงินสูงที่สุดเท่าไร เช่น มีงบโฆษณา 9,000 บาท/เดือนเท่ากับ 300 บาท/วัน ก็ตั้งค่า Daily Budget ที่ 300 บาท/วัน ผลคือผู้โฆษณาสามารถจัดสรรเงินค่าโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความเป็นจริงที่สุด

5. การทำ PPC ยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงข้อความโฆษณา หรือ Keywords ได้ตลอดเวลาอีกด้วย
6. การทำ PPC สามารถกำหนดพื้นที่ ภาษา และระยะเวลา ที่ต้องการให้โฆษณาของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. เราจะจ่ายค่าโฆษณาในการ PPC ก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาของเราแล้วเท่านั้นผู้ทำการโฆษณาจะเสียค่าโฆษณาให้ กับ Google ต่อเมื่อมีผู้เห็นโฆษณาแล้วทำการคลิกผ่านโฆษณาเข้าไปยังเว็บไซต์ของผู้ทำการ โฆษณา หากไม่มีการคลิกผ่านโฆษณาของท่านก็จะไม่มีการเสียเงินหรือค่าโฆษณาให้กับทาง Google แต่อย่างใด ถึงแม้ผู้ทำการค้นหานั้นจะเห็นโฆษณาก็ตาม

8. การทำ PPC ยังสามารถวัดผลโฆษณาได้ง่ายและรวดเร็ว และยังสามารถวัดและติดตามผลได้ทันที โดยเข้าไปดูสถิติต่างๆ ของโฆษณาได้ตลอดเวลาว่าภายในช่วงเวลาที่กำหนด มีคนเห็นโฆษณามากน้อยเพียงใด มีคนคลิกโฆษณาเท่าใด อันดับโฆษณาอยู่ตำแหน่งที่เท่าไร ค่าโฆษณาเป็นเท่าไร


PPC เหมาะกับธุรกิจใด
1. ธุรกิจที่ต้องการเพิ่มโอกาสและช่องทางในการขายสินค้าให้มากขึ้น
2. ธุรกิจที่เริ่มต้นกับการทำการตลาดออนไลน์
3. ธุรกิจที่ต้องการใช้งบประมาณทางการตลาดอย่างคุ้มค่าที่สุด
4. ธุรกิจที่ต้องการทดสอบสินค้าใหม่ๆ ทดสอบตลาด และทดสอบความต้องการของผู้บริโภค ก่อนที่จะผลิตและปล่อยสินค้าออกวางตลาดจริง



ทำไมต้องทำ PPC กับ NetdesignRank.com
1. เพราะเรามีการดำเนินงานและจัดการทาง PPC อย่างตรงไปตรงมาสามารถตรวจสอบได้ตามจริงและเราก็พร้อมจะให้คำปรึกษาในทุก ด้านที่เกี่ยวกับการทำ PPC ของทุก Search Engine รวมไปถึง Facebook ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบแคมเปญ
2. ด้วยทีมงานระดับมืออาชีพของ NetdesignRank ซึ่งเติบโตมากับวงการ Online Marketingและ PPC โดยตรงจึงพร้อมตอบในทุกข้อคำถามที่เกี่ยวกับธุรกิจ Online Marketing และการ PPC ของคุณอย่างตรงเป้าหมาย
3. นอกจากนั้นคุณยังจะได้รับส่วนลดในบริการอื่นๆ ของ Netdesign Group อาทิ ส่วนลดค่าเรียนคอร์สคอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ, ส่วนลดการเช่าโฮสติ้งของ NetdesignHost, ส่วนลดในการซื้อเว็บสำเร็จรูปของ NetdesignSoft, ส่วนลดในการจ้างทำเว็บระดับแอดวานซ์ของ ND Technology และส่วนลดในการซื้อหนังสือของ NetdesignBooks และในทุกผลิตภัฑณ์แบบครบวงจรในเครือของ Netdesign Group อีกด้วย
4. เพราะNetdesignRank เป็นบริษัทในเครือธุรกิจ Netdesign Group ซึ่งก่อตั้งมาเป็นเวลายาวนานกว่า 11 ปี มีลูกค้ามากกว่า 100,000 ราย จึงเป็นข้อพิสูจน์และยืนยันได้ว่าเราพร้อมเสมอที่จะยืนเคียงข้างคุณกับ ธุรกิจ Online Marketing ในทุกๆด้าน

(*ยกตัวอย่างทั้งหมดผ่าน Google ซึ่งเป็น search engine ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลก)

  ผู้ให้บริการ
Google
Google
Google
  ค่า Set Up
1,000 บาท
ฟรี
ฟรี
  ค่าดูแลระบบ
2,500 บาท/เดือน
2,500 บาท/เดือน
2,500 บาท/เดือน
  จำนวน Keyword
5
10
15
  จำนวนแคมเปญโฆษณา
1
1
1
  รวม
8,500 บาท
15,000 บาท
30,000 บาท
 
รายละเอียดเพิ่มเติม
  วิเคราะห์ Key Word ที่เหมาะสม
  เขียนและทดสอบแคมเปญโฆษณา
  รายงานผลการโฆษณาและงบประมาณ
    1.จำนวน Key Word สำหรับค้นหา
สูงสุดถึง 15 Key Words ทำให้เพิ่มโอกาสในการค้นหา
ไม่เกิน 10 Key Wordsเท่านั้น
    2.จำนวนแคมเปญโฆษณา
สูงสุด 2 แคมเปญ
1 แคมเปญ เท่านั้น
    3.การแก้ไขแคมเปญโฆษณา และ Key Word
ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และทำได้ตลอดเวลา
จำกัดจำนวนครั้ง และอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเมื่อแก้ไข
   4.การให้บริการ และเฝ้าติดตามประเมินผล
ตลอด 9.00 – 18.00 น.
เฉพาะเวลาทำการของบริษัท ประมาณ 9.00 – 17.30 น.
 

วิธีติดตั้ง plugin ต่างๆในบล้อก word press

WordPress Plugin เป็นส่วนเสริม หรือลูกเล่นที่เราใส่เพิ่มเข้าไปใสโปรแกรมหลัก ให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น การทำ Related Post, นับจำนวนคนอ่านบทความ, การตัดบทความที่ยาว แล้วแสดงเป็นลิงค์ Continue reading แทน, การทำ Poll และอื่นๆ อีกมากมายค่ะ

วิธีการติดตั้ง Plugin

1. ให้ไปที่เว็บไซต์ http://wordpress.org/extend/plugins/ :ลิงค์ออก:
หรือเว็บไซต์อื่นที่แจก Plugin ของ WordPress ฟรี เช่น http://lesterchan.net/portfolio/programming/php/
หรือ สามารถ Search หาจาก Google.com ได้ค่ะ
.
2. ในเว็บไซต์ของ WordPress จะมี Plugin ให้เราเลือกมากมาย ลองคลิกเข้าไปอ่านความสามารถ วิธีการติดตั้ง วิธีการใช้งานก่อน ถ้าถูกใจแล้วก็ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราเลยค่ะ install wordpress plugin
.
3. เมื่อได้ไฟล์ Plugin นามสกุล .zip มาแล้ว สามารถติดตั้งได้ 2 วิธีคือ
วิธีที่1 ไม่ต้องแตกไฟล์ ให้ Login เข้าไปหน้าจัดการ Blog เลือกเมนู Plugin>Add New จากนั้นให้ “Browse” เลือกไฟล์ Plugin นามสกุล .zip ที่เก็บอยู่ในเครื่อง แล้วกดปุ่ม “Install Now” install wordpress plugin
รอจนกว่าจะขึ้นหน้าแสดงข้อความ Successfully installed the plugin. จากนั้นให้คลิกที่ Activate Plugin เพื่อเริ่มใช้งาน Plugin ตัวนั้น
install wordpress plugin
หรือ
วิธีที่2 ให้แตกไฟล์ .zip นั้นก่อน แล้ว Upload ทั้ง folder ไปที่ Host ตาม path นี้ /public_html/yourblog/wp-content/plugins (บางครั้ง Plugin ก็เป็นแค่ไฟล์ .php ไฟล์เดียว)
ผู้เขียนชอบใช้วิธีนี้มากกว่าค่ะ เพราะถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ ใช้วิธีแรกอาจจะนาน และ Error ได้ง่ายๆ
จากนั้น Login เข้าหน้าจัดการ Blog เลือกเมนู Plugin > Installed
ที่หน้าจอจะแสดง Plugin ที่มีทั้งหมด ที่อยู่ใน folder wp-content>plugins
แบ่งเป็นส่วนของ Currently Active Plugins คือ Plugin ที่กำลังใช้งานอยู่ (ด้านบน) และส่วน Inactive Plugins จะมีรายชื่อ Plugin ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน (ด้านล่าง)
ในส่วนของ Inactive Plugins ให้คลิกที่ Action : Activate ในบรรทัดของ Plugin ที่เราต้องการใช้งาน
install wordpress plugin
แล้ว Plugin นั้นจะเปลี่ยนมาแสดงในส่วนของ Currently Active Plugins (ด้านบน)แทน
.
การใช้งาน Plugin แต่ละตัวไม่เหมือนกัน บางตัวแค่ Activate ก็ทำงานทันที เราไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมอีก แต่บางตัวก็ต้องมีการ set เพิ่มเติม ให้อ่านวิธีใช้จากคำแนะนำการใช้งานของ Plugin นั้นๆ อีกทีค่ะ เมื่อติดตั้งแล้วเรายังสามารถปรับค่าต่างๆ ของ Plugin ได้ตามต้องการ ซึ่ง Plugin มักจะมาอยู่ในส่วนของ Settings / Tool ค่ะ


เช่นต้องการเปลี่ยนThem(ถ้าbloggerเรียกว่าเทมแพลต)


เรา สามารถเปลี่ยนหน้าตาของ Blog ของเราใหม่ด้วยการเปลี่ยน Theme หรือรูปแบบการแสดงผล ซึ่งมีผู้พัฒนามาให้เราเลือกใช้กันฟรีๆ มากมายเลยค่ะ
1. ให้ไปที่เว็บไซต์ http://wordpress.org/extend/themes/ :ลิงค์ออก:
หรือเว็บไซต์อื่นที่แจก Theme ของ WordPress ฟรี เช่น
http://www.ezwpthemes.com
http://newwpthemes.net
สามารถ Search หาจาก Google.com ได้ค่ะ
2. ในเว็บไซต์ของ WordPress จะมี Theme ให้เราเลือกมากมาย ลอง Preview ดูก่อน ถ้าถูกใจแล้วก็ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราเลยค่ะ หลายๆ Theme ก็ได้ค่ะ

3. เมื่อได้ไฟล์ Theme.zip มาแล้ว ให้แตกไฟล์ แล้ว Upload ทั้ง folder ไปที่ Host ตาม path นี้ /public_html/yourblog/wp-content/themes
4. Login เข้าหน้าจัดการ Blog เลือกเมนู Appearance > Themes จะแสดง Theme ที่มีทั้งหมด ที่อยู่ใน folder wp-content>themes

5. คลิกที่ Theme ที่ต้องการเปลี่ยนได้เลยค่ะ จะมีหน้าต่าง Preview แสดงขึ้นมา ถ้าถูกใจเอา Theme นี้แหละ ก็ให้คลิกที่คำว่า Activate
6. ลองเข้า Blog ของเราใหม่ แล้ว Refresh หน้าจอ
จาก Theme เดิม

เปลี่ยนเป็น Theme ใหม่ เรียบร้อยแล้วค่ะ :OK:

เลือก Theme ที่เหมาะกับเนื้อหาเว็บไซต์ จะยิ่งทำให้เว็บไซต์ดูดีค่ะ ^^



วิธีสร้างบล้อดด้วย Wordpass

 http://www.wordpress.org

ทำตามทีละ step 

เว็บโฮสติ้ง คืออะไร


เว็บโฮสติ้ง ( Hosting, Host) คือ การเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หากคุณต้องการมีเว็บไซต์ ก่อนอื่นคุณต้องจดโดเมนเนมก่อน จากนั้นคุณต้องจ้างให้คนทำเว็บให้ แล้วจึงเช่า เว็บโฮสติ้งเพื่อเก็บเว็บไซต์ คุณสามารถเช่า เว็บโฮสติ้งพร้อมจดโดเมนเนมได้ (โดเมนเนมคือชื่อเว็บไซต์เช่น www.chaiyohosting.com เว็บไซต์ของ chaiyohosting ) หากคุณเช่า เว็บโฮสติ้งและ จดโดเมนเนมที่เดียวกัน คุณก็สามารถใช้เว็บไซต์ได้ทันที
สรุปแล้ว เว็บโฮสติ้งคือการให้บริการรับฝากเว็บไซต์ โดย ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ หากคุณใช้พื้นที่ทำเว็บไซต์น้อย คุณก็เช่า เว็บโฮสติ้งโดยเลือกพื้นที่ เว็บโฮสติ้งไม่ต้องมากนักเป็นต้น หากคุณใช้อีเมล์ คุณก็ต้องเลือก เว็บโฮสติ้งที่มาพร้อมกับอีเมล์

ใช้ เว็บโฮสติ้งที่ไหนดี

เว็บโฮสติ้งที่ดี ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. เว็บโฮสติ้ง นั้นต้องไม่ล่มบ่อย ควรที่จะ Uptime 99.99%
  2. เว็บโฮสติ้ง นั้นต้องมีระบบป้องกันไวรัสและสแปม ควรได้ผลอย่างต่ำ 90%
  3. เว็บโฮสติ้ง นั้นต้องมี ระบบสำรองข้อมูล อย่างต่ำควรเป็น Weekly Backup
  4. เว็บโฮสติ้ง นั้นต้องเปิดเว็บได้รวดเร็ว ไม่โหลดข้อมูลนาน
  5. เว็บโฮสติ้ง นั้นต้องน่าเชื่อถือ ควรเป็นบริษัท ที่เปิดมานาน มีฐานลูกค้าที่มีเชื่อเสียงเยอะพอสมควร

หาก Web Hosting ที่คุณเลือกมีคุณสมบัติตามนี้ครบถ้วน คุณไม่ต้องลังเลใจ ใช้บริการกับ เว็บโฮสติ้งนั้นได้เลย

ต้องการมีชื่อเว็บไซด์เป็นของตัวเอง

ต้องการมีเว็บไซด์เป็นของตัวเอง เพื่อแสดงตัวตนของตัวเอง หรือต้องการสื่อถึงชื่อสินค้าของเราเช่น

ครอบครัวข่าว.com หรือ amonsri.com เป็นต้น ชื่อเหล่านี้เรียกว่า "โดเมน เนม"

การจดโดเมนเนม ก็คือการตั้งชื่อเว็บไซด์ของเรานั่นเอง  แล้วเราจะเช็คได้ไงว่า ชื่อที่เราต้องการมีคนอื่นจับจองไปแล้วหรือยัง  ก็ต้องเช็คดูดังนี้

 หรือจดแบบฟรี




การจดชื่อเว็บไซด์หรือโดเมนเนม ให้เลือกดูตามความต้องการของเราจะจดกับบริษัทไหน ข้อดี ข้อเสียของแต่ละบริษัทเป็นยังไง จะจดเป้นภาษาไทศหรืออังกฤษ

การจดทะเบียนโดเมนเนม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ชื่อโดเมน ก็เปรียบเสมือน ชื่อบริษัท ชื่อร้านค้า ชื่อยี่ห้อ ที่มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ หรือการสร้างแนวทางความคิด การขาย การสร้างยี่ห้อ ทุกๆ อย่างล้วนแล้วแต่สัมพันธ์กับชื่อ ในระบบโลกออนไลน์ ชื่อดังกล่าว ก็คือ โดเมนเนม นั่นเอง

สำหรับ โดเมน ในระบบสากลที่เป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับอย่างมาก ก็คือ .com (ดอทคอม) .net (ดอทเน็ต) .org (ดอทอ๊อก) ซึ่งแต่ก่อนนามสกุลของโดเมน มีไว้เพื่อแยกแยะประเภทของเว็บไซต์ เพื่อให้ระบบสามารถจัดเก็บเว็บไซต์ได้เป็นหมวดหมู่ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อก่อนการจดทะเบียนโดเมนเนมนั้น ไม่ได้มีการตรวจสอบ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า เว็บไซต์ที่กำลังจะจัดทำขึ้นมานั้นเป็นเว็บไซต์ประเภทใด

บางคนอาจจะจดโดเมน .org ที่เป็นนามสกุลสำหรับเว็บไซต์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่กลับไปทำการค้า ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้มีข้อห้ามที่ชัดเจนจากองค์กรที่เป็นผู้รับรองการจด ทะเบียนโดเมนอย่าง ICANN ด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ประเภทต่าง ๆ ว่าได้ดำเนินวิธีการสร้างเว็บไซต์ไว้ตรงกับชื่อโดเมนเนมที่ได้จดทะเบียนหรือ ไม่ จึงเป็นเหตุในการจดทะเบียนโดเมนในปัจจุบัน มีผู้จดเพื่อแสวงหาผลกำไร มีผู้จดทะเบียนโดเมนไว้เก็งกำไร มีผู้จดทะเบียนโดเมนไว้ขายต่อ บางคนจดมาก็ไม่ใช้ทำเว็บไซต์ก็มี

โดเมนเนมชื่อดี ๆ จึงมักจะถูกจองเอาไว้แล้ว ทั้งนี้ทาง ICANN เองก็ได้มองเห็นปัญหาดังกล่าว และได้มีการอนุมัตินามสกุลใหม่ ๆ ของโดเมนเนมออกมาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น .info (ดอทอินโฟ) .us (ดอทยูเอส) .biz (ดอทบิส) .ws (ดอทดับบลิวเอส) ซึ่งทาง ICANN ก็ได้วางประเภทของเว็บไซต์ที่จะใช้งานภายใต้นามสกุลต่าง ๆ ไว้ชัดเจน ที่เหลือก็คือเรื่องของจรรยาบรรณในการจัดทำเว็บไซต์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์ ว่าจะทำเว็บไซต์ได้สอดคล้องกับชื่อโดเมนเนมที่จดทะเบียนไว้หรือไม่

ความหมายโดยย่อของชื่อโดเมนนามสกุลต่าง ๆ

.com หมายถึง commercial หรือโดเมนเนมที่เป็นเรื่องของการค้าขาย

.net หมายถึง internet หรือโดเมนเนมที่เป็นเรื่องของ Internet

.org หมายถึง organization หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

.info หมายถึง information หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ข้อมูลสารสนเทศ

.us หมายถึง unitedstate หรือ โดเมนเนมที่เป็นเว็บไซต์ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา

.biz หมายถึง business หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องของธุรกิจ

.ws หมายถึง website หรือ โดเมนเนมที่เป็นเรื่องของเว็บไซต์

การจดทะเบียนโดเมนใด ๆ ควรจะจดตรงกับผู้ให้บริการที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองจาก ICANN ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการรับจดทะเบียนโดเมน จะเป็น Reseller หรือ Distributor ของทางต่างประเทศอีกที ซึ่งก็มีความสามารถในการจดทะเบียนโดเมน โดยได้รับการรับรองโดยตรงจาก ICANN เช่นกัน



การเปิดบัญชี เพื่อการซื้อขายออนไลน์บนอินเตอร์เนต


  เมื่อเราจะทำการซื้อขายสินค้าออนไลน์บนอินเตอร์เนต จำเป็นต้องมีช่องทาง รับหรือ จ่ายเงิน บัญชีที่แนะนำให้เปิดมีดังนี้

การเปิดบัญชีกับPaypal




การทำบัตร Be1st.

  

สมัครk-cyber banking 

K-Web Shopping Card

K-Web Shopping Card จะเป็น Visa เสมือน ท่านจะสามารถใช้บริการ ซื้อสินค้าออนไลด์หรือ เล่น คาสิโนออนไลน์ พนันบอลออนไล์ กับเวปไซด์ชั้นนำได้ เหมือนกันว่าท่านมีบัตร VISA จริงๆ เลยทีเดียว สะดวกใช่มั้ยล่ะครับ งั้นไปดูวิธีการสมัครกันเลยดีกว่า
การสมัคร K-cyber Banking สิ่งแรกที่คุณต้องมีคือ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของ ธ.กสิกรไทย ถ้าไม่มีก็ไปเปิดบัญชีนะครับ ตอนไปเปิด ก็บอกพนักงานทางธนาคารว่า ขอสมัครใช้บริการ K-cyber Bangking มาด้วยเลยนะครับ สำหรับคนที่มีบัญชีของ ธ.กสิกร อยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้สมัครบริการ K-cyber Banking ก็ให้นำสมุดบัญชี พร้อม บัตรประชาชน ไปขอสมัครใช้บริการนะครับ หลังจากนั้นก็รอ username จากธนาคาร ธนาคารจะส่งมาให้ทาง Email นะครับ คราวนี้เราก็มาดูขั้นตอนการ ขอหมายเลขบัตร K-Web Shopping Card กันนะครับ หลังจากได้ username และ password มาแล้วก็ มาทำพร้อมๆกันเลยนะครับ
* Update ตอนนี้ท่านสามารถสมัครขอ username และ password สำหรับ K-Web Shopping Card ผ่านทาง ATM ได้แล้วนะครับ ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.kasikornbank.com/

วิธีสมัคร K-Web Shopping Card

1. ไปที่หน้าเว็บ ของธนาคารกสิกรไทย http://www.kasikornbank.com/ แล้ว คลิกที่ K-cyber Banking ตามภาพนะครับ
2. เลือกภาษาไทย แล้ว ใส่ username และ Password ที่ได้จากธนาคาร แล้วกด LOGIN เข้าสู่ระบบ
3. คลิกเลือกหัวข้อ K-Web Shopping Card แล้ว คลิกที่สมัครใช้บริการ
4.เลือกว่าจะให้ผูกกับ บัญชีธนาคารเล่มไหน (จะให้ตัดเงินจากเล่มไหน) กรณีมีบัญชีของธนาคารมากกว่า 1 เล่ม แล้ว กำหนดวงเงินสูงสุดต่อเดือนที่จะใช้ผ่านบัตร K-Web Shopping Card (สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท)
5. ขั้นตอนการขอบัตรก็มีแค่นี้ละครับ รอประมาณ 1 วันหรือ ภายใน 24 ชั่วโมง ธนาคารก็จะออกหมายเลข บัตรให้ครับ

วิธีการดูหมายเลขบัตร K-Web Shopping Card

1. LOGIN เข้าสู่ระบบ K-Cyber Banking
2. คลิกเลือกหัวข้อ K-Web Shopping Card แล้วเลือก ดูรายละเอียดบัตร
3.ตรงนี้คุณก็จะได้เห็น ข้อมูลต่างๆดังนี้
  • หมายเลขบัตร 16 หลักของ K-web Shopping Card ที่นำไปใช้แทนหมายเลขบัตรเครดิต
  • ชื่อย่อบัตร เป็นชื่อที่เราตั้งเองไว้ใช้แยกบัตร กรณีมีบัตรมากกว่าหนึ่งใบ
  • หมายเลข cvv 3หลัก ที่ใช้สำหรับการยืนยันบัตรเวลานำไปใช้
  • หมายเลขบัญชีธนาคาร ที่หมายเลขบัตรใบนี้ผูกด้วย (หมายเลขบัญชีที่บัตรใบนี้ใช้ในการตัดเงิน)
  • วันบัตรหมดอายุ
  • วงเงินบัตร เป็นวงเงินที่เรากำหนดเอาไว้ในตอนแรก
  • ยอดวงเงินที่ใช้ไป เป็นยอดเงินที่เราใช้จ่าย ผ่านหมายเลบัตร K-Web Shopping Card
  • ยอดวงเงินคงเหลือ คือ ยอดคงเหลือที่เราสามารถใช้ผ่าบัตรใบนี้ได้ เช่น กำหนดวงเงินสูงสุดที่จะใช้ผ่านบัตรไว้ 100,000 บาท ใช้ผ่านหมายเลขบัตร 100 บาท ก็จะเหลือวงเงินที่จะสามารถใช้ผ่านหมายเลขบัตรใบนี้ในเดือนนี้ 99,900 บาท เพราะเราใช้ผ่านหมายเลขบัตรไปแล้ว 100 บาทครับ

วิธีทำ Verified by VISA ให้บัตร K-Web Shopping Card

คราวนี้มาถึงขั้นตอนการทำ Verified by VISA นะครับ (จำเป็นต้องทำนะครับ)
1. ให้เข้าไปที่หน้าเว็บของธนาคารกสิกร แล้วให้ทำตามขั้นตอนดังนี้นะครับ
1.1 ให้คุณคลิกที่ "ลูกค้าบุคคล" ด้านบน
1.2 คลิกที่ "บัตรเดบิต" ที่แทบด้านบน
1.3 ให้มองที่แทบด้านขวา แล้วให้คลิกที่ "บริการ Verified by VISA"
1.4 เลื่อนลงมา ให้คลิกที่ สมัครใช้บริการ Verified by Visa แบบ Static Password (PIN)
ตอนนี้คุณจะอยู่หน้าที่ให้ คุณกรอกหมายเลขบัตร K-Web Shopping Card ของคุณ ให้คุณทำตามระบบขั้นตอนที่ธนาคารแจ้งไว้เลยครับ ไม่มีอะไรยากครับ
ตอนนี้บัตรเว็บการ์ดของคุณก็สมบูรณ์แล้วครับ สามารถนำไปใช้สมัคร Paypal, Moneybookers และเว็บไซท์อื่นๆได้เลยครับ
ถ้าถามว่าธนาคารอื่นมี บริการแบบนี้ไหม ผมตอบว่ามีครับ ที่มีอยู่ตอนนี้ก็ ธนาคารกรุงเทพ ส่วนข้อแตกต่างก็คือถ้าเป็น ของธนาคารกรุงเทพ จะออก เป็น ตัวบัตรให้เลยครับ แต่เวลาทำต้องรอสำนักงานใหญ่ออกให้ รอประมาณ 7 วัน ครับ ส่วนของ ธนาคารกสิกรไม่มีตัวบัตรให้ ต้อง LOGIN เข้าระบบเพื่อดูหมายเลขบัตรครับ
แต่ผมแนะนำว่าทำของกสิกรดีกว่าครับ เพราะเวลาบัตรมีปัญหาอย่างเช่น คนอื่นรู้ หมายเลขบัตรแล้วนำไปใช้ เราก็ LOGIN แล้วอายัตบัตร แล้วทำการขอหมายเลขบัตรใหม่ ภายใน 24 ชั่วโมงเราก็จะได้หมายเลขบัตรใบใหม่แล้วครับ ส่วนของธนาคารกรุงเทพเราต้องไปธนาคาร เพื่อแจ้งอายัตบัตร แล้วไม่รู้ว่าต้องรอกี่วันสำหรับบัตร

 

       

วิธีทำเพาเวอร์พ้อย

การนำเสนองานด้วยเพาเวอร์พ้อย