วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

SEO (Search Engine Optimization)

ขั้นตอนการทำ SEO ขั้นที่ 1 วิเคราะห์คู่แข่งและเลือกคีย์เวิร์ด



  


          ก่อนที่จะลงในเนื้อหา ขั้นตอนนี้ ผมจะพูดถึงเรื่อง SEO (Search Engine Optimization) กันก่อนนะครับ เผื่อมีบางคนหลงทางมาเจอ จะได้รู้ว่า SEO มันคืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องทำ SEO ทำไมมีคนกล่าวถึงกันมากเหลือเกิน (ในกลุ่มเว็บมาสเตอร์และคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ) ก่อนอื่น ผมขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นเทพจุติจากที่ไหน แต่อาศัยว่ามีประสบการณ์ในการทำ SEO มาพอสมควร นอกจากนี้ ก็ยังได้ถ่ายทอดให้น้องๆ อีกหลายคนทำตาม และก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละคนอีกหล่ะครับ SEO มันไม่ได้เป็นกฏตายตัว (เราไม่ใช่กูเกิ้ล เอ็มเอสเอ็น หรือ ยาฮูนี่ครับ) มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครขยันหาข้อมูล รู้จักสังเกต นำมาปรับแต่งก็ได้เปรียบหล่ะครับ


SEO คืออะไร

          SEO (เอสอีโอ) มาจากคำเต็มๆ ว่า Search Engine Optimization ความหมายแบบบ้านๆ ลูกทุ่งๆ ก็คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ และกระบวนการต่างๆ ของเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโปรแกรม และการโปรโมทเว็บ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของ Search Engine (เครื่องมือค้นหาเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google, MSN, Yahoo, AOL เป็นต้น) 

SEO สำคัญยังไง

          อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูล แทนที่จะต้องพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ก็ใช้ Keyword (คำค้น) ป้อนลงไปใน Search Engine Box ต่างๆ ก็จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างง่ายดาย และตรงประเด็น มีให้เลือกเปรียบเทียบอีกหลายๆ แห่ง สำหรับเรื่องๆ นั้น และเมื่อค้นพบแล้ว ก็จะมีการแสดงผลออกมาหลายๆ หน้า หลายๆ เว็บไซต์ เว็บที่ถูกแสดงเป็นอันดับที่ 1 2 3 หรือที่แสดงผลในหน้าแรก ก็จะถูกคลิกเข้าไปดูข้อมูลมากที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เว็บไซต์ต่างๆ ย่อมต้องการให้เว็บตัวเองขึ้นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ เผื่อผลประโยชน์หลายๆ ด้านเช่น ขายสินค้า โฆษณา หรือโปรโมทร้านค้า บริษัทของตัวเอง ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ดังนั้น ผมสรุป ความสำคัญของ SEO ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ (ใครต้องการเพิ่มก็เขียนไว้ที่ คอมเม้นท์นะครับ)
  1. ทำให้เว็บของเราติดอันดับต้นๆ ในการแสดงผลงการค้นหา
  2. การเขียน Title ที่ดี Keyword Intrend ช่วยทำให้สะดุดตา แม้อันดับต่ำกว่า ก็มีสิทธิ์ถูกคลิกมากกว่า
  3. ทำให้เว็บเราถูกหลักของ W3C ซึ่งเป็นมาตรฐานของภาษาที่ใช้เขียนเว็บ ทำให้ดูสละสลวยเมื่อ Search Engine มาเจอก็เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย
  4. เมื่อติดอันดับต้นๆ ทำให้ขายสินค้าได้ โฆษณาเข้ามา เพราะมีทราฟิก
  5. ติด Adsense ก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินค่าโฆษณาที่สูงด้วย เพราะมีทราฟิกก็มีโอกาส
  6. อื่นๆ
          เอาละครับ เรามาเริ่มลงมือวิเคราะห์คู่แข่งกันก่อนเลยนะครับ วิเคราะห์ยังไง ใครเป็นคู่แข่ง โดยการใช้หลักการ SWOT มาประยุกต์ใช้กับขั้นตอนนี้กันเลยครับ
ขั้นตอนการวิเคราะห์คู่แข่งโดยการใช้ SWOT Analysis
  1. S (Strengths) เราต้องมาดูก่อนนะครับว่า เว็บหรือบล็อกที่เราจะทำ มีแข็งตรงไหนบ้าง ที่จะเอาไปสู้เขาได้ เช่น Unique Contents หรือเปล่า, อัพเดทเร็วกว่าคู่แข่งหรือไม่ เป็นต้น
  2. W (Weaknessess) จากนั้นก็มาดูว่า เรามีจุดอ่อนตรงไหน เช่น เว็บเล็กๆ ที่บล็อกที่ไม่มีคนรู้จัก ต้องทำอย่างไร คนจึงจะรู้จัก รวมไปถึงการออกแบบเว็บต่างๆ อาจจะไม่สวยงามเหมือนเว็บคู่แข่งรายใหญ่ๆ เป็นต้น
  3. O (Opportunities) โอกาส อันนี้ต้องมองลึกๆ ให้ถึง Keyword trends หรือคีย์เวิร์ดตามเทศกาล ให้ทันและรวดเร็ว เช่น ช่วงเทศกาลสงกรานต์, วันหวยออก, หรือเหตุบ้านการเมือง ข่าวฉาวต่างๆ เราต้องรีบทำให้เร็วที่สุด จะได้ไม่พลาดโอกาสอันงามอันนั้นไป
  4. T (Threaths) อุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้เว็บของเราไม่โต อันนี้สำคัญมากๆ ต้องวิเคราะห์ดีๆ ก่อนนะครับ
ขั้นตอน ในการใช้เครื่องมือในการเลือกคีย์เวิร์ด
          หลังจากที่เราได้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนแล้ว เรามาดูว่า เมื่อเราจะทำเว็บแบบนี้ มีคู่แข่งเยอะหรือเปล่า รายใหญ่ๆ มีใครบ้าง ต้องสู้กันด้วยจำนวนคีย์เวิร์ดเยอะหรือไม่ มีคีย์เวิร์ดข้างเคียงหรือเปล่า โดยที่เราทำแล้วไม่เหนื่อยเกินไป  มาดูเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกคีย์เวิร์ดกันเลย
  1. ผมใช้ Google Keyword Tools External  ในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดก่อน
  2. หลังจากนั้นก็ใช้ Keyword Trends ใน Truehits เพื่อช่วยดูข้อมูลเพิ่มเติม เหมาะกับเว็บไทยๆ ดี
  3. เมื่อได้คีย์เวิร์ดแล้ว ก็ใช้ Google ค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นๆ แล้วดูว่า มีเว็บไหนเป็นคู่แข่งบ้าง เขาทำ SEO หรือไม่ (สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเขามีการปรับแต่ง Title, Keyword, Description หรือไม่ โดยการเปิดเว็บเขาแล้ว View Source ดูก่อน)
  4. ถ้าไม่มีคู่แข่งมาก หรือ เว็บนั้นๆ SEO ไม่ค่อยดี คิดว่าเราสู้ได้แน่ๆ ก็เก็บคีย์เวิร์ดนั้นๆ ไว้ก่อนเลย ผมแนะนำว่า ควรเก็บไว้ประมาณ 10 คำหลักๆ ที่เด่นๆ ที่สุดก็พอครับ

ไม่มีความคิดเห็น: