วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไตวายเรื้อรัง

โดย หมอ “เวง”

เห็นชื่อเรื่องแล้วอย่าเพิ่งงงนะครับ ฟังผมคุยไปเรื่อย ๆแล้วจะเข้าใจ ช่วง2-3 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองลาวบ่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไปปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ ก็ไปเยียมเยื่อนคนไข้ซึ่งเป็นลูกค้าของรพ.เป็นหลัก และถือโอกาสไปเที่ยวด้วย ใคร่ๆที่ชอบธรรมชาติ(ที่บริสุทธิ์) ชอบความเป็นอยู่แบบเดิมๆ แล้วมักจะชอบไปเที่ยวเมืองลาว เหมือนเรากลับไปหาอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน เลย ทำให้มักคุ้นกับผู้คนแถบนี้อยู่พอสมควร ลาวกับไทยสมเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันจริง ๆ นะครับ คือพูดง่าย ๆ คุยกันรู้เรื่อง ไม่ต้องพูดภาษาอื่น และที่ชอบอีกอย่างคือ ภาษาพูดเค้าจะใช้คำง่าย ๆ เช่น โรงพยาบาล เค้าเรียก “โฮงหมอ” ห้องฉุกเฉิน เรียก”ห้องฟ้าว” ห้องผ่าตัดเรียกั”ห้องปาด,ห” ห้องคลอดเรียก”ห้องประสูติ” เป็นต้น ส่วนบักไข่หลังที่จั่วหัวไว้ หมายถึง ไตนั่นเอง

บักไข่หลังเสื่อมคือ โรคไตวาย เหตุผลที่เรียก “ไข่หลัง” น่าจะเป็นจาก(ผมเดาเองนะครับ) รูปร่างของไตเหมือนไข่(ความจริงเหมือนเมล็ดถั่ว) อยู่ที่หลัง(บั้นเอว) 2 ข้าง (ข้างละอัน) หรือจะแปลอีกอย่าง คือ ไข่ที่อยู่ข้างหลัง โดยเหตุผลสนับสนุนว่า ไข่คู่อันข้างหน้าก็คือลูกอัณฑะ (รึเปล่า)

โรคไต มีหลายประเภทนะครับบางอย่างเป็นแล้วรักษาหายขาดปกติโรคบางอย่างรุนแรง มีการทำลายไตไปมากๆ ก็ทำหน้าที่ไตลดน้อยลงมากๆ ร่างกายก็เริ่มแย่ จากภาวะไตพร่องกลายเป็นโรคไตวาย ซึ่งผมพูดถึงเฉพาะ ไตวายเรื้อรัง ซึ่งรักษาไม่ค่อยหายขาดและการรักษาค่อนข้างซับซ้อนก่อนอื่นเรามาดูที่ไตก่อนนะครับ ไตมีหน้าที่หลายอย่าง หน้าที่หลักที่ทราบกันทั่วไป คือ ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ที่เราเห็นกันทุกวัน ๆ คือปัสสาวะนั่นแหละครับปัสสาวะมาตั้งเยอะ 50-60 ปีมาแล้วไม่มีปัญหา ไม่ปัสสาวะซัก 2 วัน จะเป็นอะไรไปเกิดเรื่องแน่นอนครับ ในการดำรงชีวิตของทุกๆ วันซึ่งต้องกินอาหารเข้าไปเพื่อย่อยสลายเป็นพลังงานให้มีชีวิตอยู่(ใช้หนี้ IMF) ก็ต้องมีของเสียเกิดขึ้น ของเสียบางส่วนเปลี่ยนเป็นรูปกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางปอดและหายใจออกไป ของเสียที่ไม่สามารถสลายเป็นก๊าซได้ เช่น อาหารที่สลายจากโปรตีน และกรดด่าง จะขับออกทางไต ฉะนั้นต้องออกทุกวัน เปรียบง่าย ๆ กับท่อน้ำเสีย ถ้าเกิดการอุดตัน บ้านาท่านคงเจิ่งนองไปด้วยน้ำเสีย สิ่งปฎิกูลต่าง ๆ (เห็นภาพพจน์นะครับ) หน้าที่ไตอื่น ๆเห่นการรักษาดุลย์ กรดด่าง, เกลือแร่ในร่างกายและสร้างฮอร์โมน กระตุ้นการสร้างเม็ดโลหิตแดง ไม่ให้โลหิตจาง

สาเหตุของไตวายเรื้อรัง มีหลายอย่าง ที่พบบ่อย ๆคือ ไตอักเสบเช่นจากโรค SLE (ลูปุส),นิ่วกไต,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,เก๊าท์ที่ควบคุมไม่ดี,ยาแก้ปวดบางตัว ฯลฯ ภาวะที่ว่านี้ทำให้หน้าที่ไตเสื่อมลงเรื่อย ๆ พอลดลงถึงระดับหนึ่ง (มากกว่า 50 %) อาการไตวายก็ตจะเริ่มปรากฎ แรก ๆ จะไม่มีอาการใด ๆ อาการเริ่มต้นตั้งแต่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียน ซีด ๆ บวม ๆ ตามหน้า,ขา: ปัสสาวะจะผิดปกติ ไตวายบางชนิดปัสสาวะปกติ บางชนิดจะปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นหรือสูงมากกว่าเดิม อาการปวดหลังที่ ชาวบ้านชอบกลัวว่าจะเป็นโรคไต จะพบในกรณีโรคไตวายที่เกิดจากโรคนิ่วเท่านั้น จึงสรุปว่า อาการปวดหลังอาจจะเป็นโรคไตหรือโรคอื่น ก็ได้และโรคไตวายเองก็อาจจะไม่ปวดหลังเลยก็ได้ถ้าโรคเป็นหนักเข้าก็จะหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำเกิน,ปอดชื้น,ไอ,นอนราบไม่ได้,คลื่นไส้อาเจียน,บวมมาก. สุดท้ายหัวใจจะล้มเหลว น้ำท่วมปอดมาก หายใจเป็นฟอง อาจมีเลือดปน เกลือแร่บางตัวอาจสูงมากเช่น โปแตสเซียม ทำให้ถึงแก่กรรมได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ประกอบด้วย รักษาภาวะวิกฤติซึ่งจะทำให้คนไข้เสียชีวิตก่อน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะชัก,ภาวะโปแตสเซียมเกิน เมื่อภาวะดังกล่าวบรรเทาแล้วต้องหาสาเหตุ และแก้ไข เช่น ผ่าเอานิ่วออก ,ควบคุมเบาหวาน, ความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ,รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้ารักษาโรคอันเป็นสาเหตุแล้ว หน้าที่ไตก็จะกลับฟื้นมาบางส่วน ถ้าหน้าที่ไตไม่กระเตื้องขึ้น จากการรักษาดังกล่าว วิธีการต่อไปมี 2แบบใหญ่ ๆ คือ

1. รักษาประคับประคอง โดยการควบคุมอาหาร ควรลดอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ขาว,ไปเน้นทางแป้ง,ไขมัน แทน ลดอาหารเค็ม ถ้าปัสสาวะน้อยควรลดปริมาณน้ำดื่มต่อวันด้วย,การใช้ยาหลายชนิด รวมถึงฮอร์โมนเพิ่มเลือดด้วย,และร่วมการฟอกไต(ล้างไต) ด้วยเครื่องไตเทียม ต้องยอมรับว่าการรักษาดังกล่าวมานี้ต้องทำไปตลอดชีวิต การฟอกไตก็คือการใช้เครื่องไตเทียมทำงานแทนไต โดยเอาเลือดจากตัวผ๔ป่วยเข้าเครื่องดูดของเสีย,น้ำส่วนเกินออกไป เสร็จแล้วก็ส่งเลือดกลับคืนสู่ตัวผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน

2. การเปลี่ยนไต เป็นการรักษาที่ดีที่สุดเพราะจะทำให้โรคหายขาดเป็นปกติ (แต่) ปัจจุบัน ถึงแม้การแพทย์จะก้าวหน้ามาก การเปลี่ยนไต ก็ยังอาจมีปัญหาได้ ถ้าร่างการผู้ป่วยไม่ี่รับไตใหม่ ขั้นตอนที่สำคัญคือการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อรับการเปลี่ยนไตให้เหมาะสมคือ ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายจะสามารถเปลี่ยนไตได้หมด

คุยกันพอสังเขปนะครับมากไปเดี๋ยวเครียดกันเปล่า ๆ โรคทุกโรคก็เหมือนกันละครับ ถ้ารู้เร็วก็ดีไป รู้ช้า ๆ บางทีก็ลำบาก โรคบางอย่างก็ไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นมากนะครับ ต้องอาศัยการตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงจะรู้ ก็ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพกายใจอันสมบูรณ์เข้มแข็งกันตลอด

ไม่มีความคิดเห็น: