วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

ใช้คนให้เป็นอย่างคุณธนินทร์ เจียรวนนท์

ท่านประธานธนินท์มัก กล่าวกับผู้บริหารและผู้ร่วมงานในเครือฯอยู่เสมอว่า

"คน ที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงไม่ควรมองที่ จุดด้อยของคนอื่น แล้วมองแต่จุดเด่นของตัวเอง เพราะว่าถ้าพยายามมองจุดด้อยของคนอื่น ก็จะคิดว่าตัวเองเก่งอยู่ทุกครั้งทุกทีไป จึงไม่ได้มีความพยายามปรับตัว เราต้องมองจุดเด่นของคนอื่น แล้วหาทางใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์ จึงสามารถทำงานใหญ่ได้"

โดยท่านถือหลักการในการบริหารคนและองค์กรที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า

"องค์กร ที่ดีต้องประกอบด้วยคน 4 รุ่นคือ รุ่นอายุ 50 ปี รุ่นอายุ 40 ปี รุ่น อายุ 30 ปี และรุ่นอายุหนุ่มสาวที่เพิ่งจบการศึกษา เพราะคนเราต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เก่งอย่างไรก็ต้องมีวันหยุด เมื่อหยุดแล้วจะหาใครมาทดแทน เราต้องมีการสร้างคนอีก 3 รุ่นลงมารองรับไว้ก่อน"

ท่านประธาน ธนินท์ มีเหตุผลว่าธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้และจะสำเร็จหรือ ไม่อยู่ที่คน ทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน

"ผม ถือว่าคนเป็นทรัพยากรสำคัญที่ล้ำค่าอันเป็นหัวใจของทุกองค์กร เราจึงต้องมีคน ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามาถ และมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้ มากๆ จึงจะสามารถนำองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้"

หากบริษัทอยาก จะเจริญก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด ก็ต้องพัฒนาคนไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ เมื่อมีประสิทธิภาพก็เกิดประสิทธิ ผลในการทำงาน ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งต่อ บริษัท และสังคม

ไม่มีอะไรที่ให้สังคมได้ดีที่สุดเท่ากับการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ

ท่านประธานจึงให้ความสำคัญกับคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความอดทนเยี่ยม มีความ ซื่อสัตย์สุจริต และมีความขยันหมั่นเพียรก่อน

เหตุผลคือ หาก "คน" มี 4 ประการแรกแล้ว สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นคนเก่งได้

"มนุษย์เราทุกคนมีความสำเร็จอยู่ในตัวเองทั้งนั้น ชีวิตคนทุกคนต้องมีจุดเด่นที่ สามารถนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จได้"

"แต่ ที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าเป็นคนที่เหลิง หลงตัวเองว่าเก่ง เพราะวันนี้เก่ง พรุ่งนี้อาจจะไม่เก่งก็ได้ อาจจะมีคนเก่งกว่าเราก็ได้ และถ้าเราเหลิงจะมีแต่ถอยหลัง อย่าลืมว่าโลกของเรามีแต่จะก้าวไปข้างหน้า"

ผู้ บริหารที่จะประสบความสำเร็จนั้น นอกจากตัวเองจะมีความรู้ มีความสามารถในการ ตัดสินใจอย่างถูกจังหวะ รวมถึงมองการณ์ไกลแล้ว ยังต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานในระดับปฏิบัติการอย่างเต็มความสามารถ

นั่นคือการเป็นเจ้านายที่ดีต้องอย่าทำตัวเหมือน "นก" แต่ให้เป็นเหมือน " หนอน"

เพราะ การทำตัวเหมือน "นก" ก็มักแต่ชอบบินสูงอยู่บนฟากฟ้า คิดว่าตัวเองเหนือผู้ อื่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็อยู่สูงเกินไปจนมองไม่เห็นความเป็นไปบนพื้นดิน
และการที่ ซี.พี.แตกบริษัทย่อย แบ่งกลุ่มธุรกิจออกไป เช่น กลุ่มธุรกิจเกษตร อุตสาหกรรม กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และเคมีเกษตร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ นั้น ก็เป็นวิธีการกระจายอำนาจ กระจายหน้าที่ความรับผิดชอบ กระจายความเสี่ยง และการสร้างคน

"ผมมองคนอื่นว่าเก่งกว่าผมเสมอ ผมไม่เคยมองใครว่าเก่งสู้ผมไม่ได้ สำหรับคนที่ทำงานกับเรา ผมยึดหลักว่าจะต้องเปิดโอกาสให้เขาแสดงความสามารถ เมื่อใครแสดงความสามารถออกมาเราจะต้องส่งเสริมสนับสนุนเขาให้มีตำแหน่งสูงๆ ขึ้นไป เราต้องพยายามรักษาเขาให้อยู่กับเรานานที่สุด เราจะต้องสร้างคนที่มีความสามารถให้เกิดขึ้นมากๆ"

นอกจากนี้ ท่านประธานยังยึดคติพจน์

"ความล้มเหลวคือแม่ของความสำเร็จ"

"ผม ชอบคนที่ทำงานเสียหายแล้วรู้ว่าเสียหายอย่างไร และผมจะให้โอกาสเขาแก้ตัวใหม่ แต่ถ้าทำเสียหายแล้วบอกว่าทำดีที่สุดแล้ว ทำถูกต้องแล้ว แถมยังโยนความผิดไปให้คนอื่น คนอย่างนี้ผมไม่กล้าใช้ให้ทำงานอีกต่อไป"

ยิ่งการจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ท่านประธานธนินท์ยังมีมุมมองที่น่าสนใจ

"การ ที่จะทำอะไรให้สำเร็จ อย่าเพิ่งไปคิดว่า เรามีกำไรเท่าไหร่ เราจะได้ผลประโยชน์อะไร เราน่าจะคิดว่างานชิ้นนี้เรามีโอกาสทำได้ดีที่สุดหรือเปล่า แล้วทำสำเร็จได้หรือไม่ เราจะทำงานชิ้นนี้ให้ดีที่สุด เราต้องทำให้ดีกว่าคนอื่น แล้วความสำเร็จจะตามมา"

(จากส่วนหนึ่งใน "มุมคิด" เรื่องคนของ "ธนินท์" ซึ่งหยิบมาจากหนังสือ "36 กลยุทธ์ ธนินท์ เจียรวนนท์" เรียบ
เรียงโดยวิจักษณ์ วรบัณฑิตย์ )  




ไม่มีความคิดเห็น: