วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

MLMโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
สาเหตุ : หลอด เลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง 
(อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด
เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด

แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ


ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม.
แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก

บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งด บุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, 

LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร
หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี
ความดันโลหิตสูง
สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ
หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ

ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบ คุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร

ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ARB ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม.
ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป

มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลด อาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน

หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ.
(white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง
ภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุ : โรค หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง
กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ

ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ
ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย

การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับ การรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา

หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที
ลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว
สาเหตุ : การ ติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของ
ลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษา ตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด 

ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย
เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก

และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อ ลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม 

ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน
ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน
สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษา ตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ

ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย

การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งด อาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง

เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ 

อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อา การเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย

ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้
โรคอ้วน
สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวานกับโรคหัวใจ
สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล 

ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน

แล้วการพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีก เลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) 

ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย
ไขมันในเลือดสูง
สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด ร่างกายสร้างไขมันขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบ คุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100

(น้อยกว่า 70 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ เบาหวาน) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง
สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้



บทความสาระน่ารู้ (คลิกอ่านเพิ่มเติม)

ยาลดความดันโลหิต
ระวังการเสริมฮอร์โมน Testosterone เป็นอันตรายในผู้ชายวัยทอง
Vitamin D กับ โรคหัวใจ article
การตรวจไขมันในเลือด
ตรวจสุขภาพประจำปี ดีไหม
Chocolate for Life ! article
กินน้ำมันปลาป้องกันโรคหัวใจ article
ลิ้นหัวใจยาว article
ลดโคเลสเตอรอล ด้วยอาหารเสริม article
Heart Attack !!! article
โรคหัวใจจากความเครียด article
ยารักษาใจ article
ยาอมใต้ลิ้น ไม่ใช่ยาวิเศษ article
เมื่อหัวใจ ต้อง บายพาส article
แพทย์ทางเลือก ดีจริงหรือ? article
ความจริงเกี่ยวกับยา สแตติน article
คำถามเกี่ยวกับยาลดไขมันในเลือด article
โรคสะเก็ดเงิน กับ โรคหลอดเลือดหัวใจ article
เตรียมตัวไปพบหมอหัวใจ article
ลิ้นหัวใจเทียม article
ลิ้นหัวใจรั่ว article
หัวใจโต article
การรักษาความดันโลหิตสูง article
ข้อควรทราบเกี่ยวกับความดันโลหิต article
ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ article
โรคหัวใจในผู้สูงอายุ article
การตรวจทางหัวใจ article
อาการโรคหัวใจ article
โรคหัวใจ article
หลอดเลือดหัวใจ article
หัวใจของเรา article



dot

dot








dot









Thailand Web Stat

ไม่มีความคิดเห็น: