วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ย่อ กฏหมายอาญา บทบัญญัติทั่วไป

ย่อหลักกฎหมายเพื่อความคล่องตัว
1. ขาดองค์ประกอบความผิด – ไม่มีความผิด
2. ไม่รู้ข้อเท็จจริง – ไม่มีความผิด (มาตรา 59 วรรคสาม)
3. สำคัญผิดในข้อเท็จจริง – แล้วแต่กรณี (มาตรา 62) มีเหตุเป็นคุณ ประการ คือ
1) เหตุยกเว้นความผิด – ไม่มีความผิด เข่น ป้องกันตาม มาตรา 68 ฯลฯ
2) เหตุยกเว้นโทษ – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เช่น จำเป็นตาม มาตรา 67 ฯลฯ
3) เหตุลดหย่อนโทษ – มีความผิดแต่ศาลจะลงน้อยเพียงใดก็ได้ เช่น บันดาลโทสะ ตาม มาตรา 72
ฯลฯ
4. สำคัญผิดในตัวบุคคล – แก้ตัวไม่ได้ (มาตรา 61)
5. ไม่รู้กฎหมาย – แก้ตัวไม่ได้ (มาตรา 64)
6. คนวิกลจริต – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา65)
-
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 65 วรรคสอง)
7. ความมึนเมา – แก้ตัวไม่ได้ เว้นแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา
หรือถูกขืนใจให้เสพและได้กระทำในขณ ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 65 วรรคสอง)
7. ความมึนเมา – แก้ตัวไม่ได้ เว้นแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา
หรือถูกขืนใจให้เสพและได้กระทำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (มาตรา 66)
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 66 ตอนท้าย)
8. จำเป็น – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 67)
9. ป้องกัน – ไม่มีความผิด (มาตรา 6ะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (มาตรา 66)
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 66 ตอนท้าย)
8. จำเป็น – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 67)
9. ป้องกัน – ไม่มีความผิด (มาตรา 6
10. เกินกว่าเหตุ – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 69)
ถ้าเกิดจากความตื่นเต้นตกใจกลัว – ศาลจะไม่ลงก็ได้ (มาตรา 69ตอนท้าย)




11. กระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าเป็นคำสั่งโดยมิชอบ
(มาตรา 70)

12. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภริยา – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 71 วรรคแรก)
13. บันดาลโทสะ – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 72)
14. เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 73)
15. เด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี  ให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก (มาตรา 74)
16.เด็กอายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี – ให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก หรือลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง (มาตรา 75)
17. เหตุบรรเทาโทษ – ศาลลดโทษที่จะลงไม่เกินกึ่งหนึ่ง (มาตรา 7
18. โทษปรับสถานเดียว – ชำระค่าปรับในอัตราสูงสุด ก่อนศาลเริ่มต้นสืบพยานคดีระงับ (มาตรา 79)
19. พยายาม – ระวางโทษ ใน ของระวางโทษ) (มาตรา 80)
20. พยายามที่เป็นไปไม่ได้โดยแน่แท้ – ระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง (มาตรา 81)
ถ้าหลงเชื่ออย่างงมงาย – ศาลจะไม่ลงก็ได้ (มาตรา 81 วรรคแรก)
21. ไม่ต้องรับโทษฐานพยายามแต่รับตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด (มาตรา 82)
22. ตัวการ – ตัดสินใจร่วมกันและอยู่ในสถานที่เดียวกัน พร้อมที่จะช่วยเหลือกันได้ (มาตรา 83)
23. ผู้ใช้ – ทำให้ผู้อื่นตัดสินใจรับโทษเสมือนตัวการ (มาตรา 84)
ถ้าความผิดมิได้กระทำลง – ต้องระวางโทษ ใน 3 (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น) (มาตรา
84 วรรคสอง)
24. ผู้โฆษณา – ประกาศ ความผิดไม่ต่ำกว่า เดือน แต่ความผิดมิได้กระทำลง –ระวางโทษกึ่งหนึ่ง (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น) (มาตรา 85)
ถ้าได้มีการกระทำความผิดแล้ว – รับโทษเสมือนตัวการ (มาตรา 85 วรรคสอง)
25. ผู้สนับสนุน – เขาตัดสินใจก่อนแล้วเราจึงมาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อน
หรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษ ใน 3 (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุน (มาตรา 86)
26. ผู้ใช้ – ผู้โฆษณา – ประกาศ หรือผู้สนับสนุนเข้าขัดขวางมิให้บรรลุผล
27. ผู้ใช้ – ผู้โฆษณา ประกาศ หรือผู้สนับสนุนเข้าขัดขวางมิให้บรรลุผล
ผู้ใช้ รับเพียง 1 ใน 3 มาตรา 84 วรรคสอง
ผู้โฆษณา – ประกาศ – รับผิดเพียงกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 85 วรรคแรก
ผู้สนับสนุน – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 88)
28. เหตุส่วนตัว เหตุในลักษณะคดี – มาตรา 89
29. กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ลงบทหนักสุด (มาตรา90)
30. ต่างกรรมต่างวาระ – ลงโทษเรียงกระทงความผิด (มาตรา 91)
31. หลักเกณฑ์กรรมเดียว
1) กระทำครั้งเดียว เจตนาเดียว หรือ
2) กระทำหลายครั้งแต่มี เจตนาเดียว (แยกเจตนามิได้) (มาตรา 90)
32. หลักเกณฑ์ต่างกรรม – แยกเจตนา (มีหลายเจตนา แม้ในวาระเดียวกัน) (มาตรา 91)
33. การเพิ่มโทษธรรมดา – เพิ่ม ใน ของโทษ ของโทษที่ศาลกำหนด (เพิ่มโทษที่จะลง) (มาตรา92)
หลักเกณฑ์ – กระทำผิดอีกในระหว่างรับโทษ หรืภายใน ปี นับแต่วันพ้นโทษ (มาตรา 92)
34. การเพิ่มโทษหนัก – เพิ่มกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนด (เพิ่มโทษที่จะลง) (มาตรา 93)
หลักเกณฑ์
1) กระทำผิดซ้ำอนุมาตราเดียวกันอีกในระหว่างรับโทษ หรือภายใน ปีนับแต่วันพ้นโทษ
2) ความผิดครั้งแรกศาลพิพากษาจำคุกไม่น้อยกว่า เดือน และ
3) ศาลพิพากษาครั้งหลังถึงจำคุก (เท่าไหร่ก็ได้)(มาตรา 93)
4) ศาลผิดฐานประมาทลหุโทษ หรืออายุไม่เกิน 17 ปี ไม่ว่าครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่นับ (มาตรา 94)
35. อายุความฟ้องร้อง – มาตรา 95 นับแต่วันกระทำความผิด
36. อายุความฟ้องร้องในความผิดอันยอมความได้ – ต้องร้องทุกข์ภายใน เดือน นับแต่รู้เรื่องรู้ตัว (มาตรา 96)
37. อายุความบังคับคดี – มาตรา 98 นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด หรือ หลบหนี
38. ความผิดลหุโทษ – ความผิดที่ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นว่ามานี้ด้วยกัน (ดูที่ระวางโทษมิใช่ดูโทษที่จะลง) (มาตรา 102)
39. พยายามลหุโทษ – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 105)
40 สนับสนุนลหุโทษ – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 106)
(จบสรุปย่อ วิธีไล่สายกฎหมายอาญา เล่ม 1 (มาตรา 1 – 106)








ป.อาญา มาตรา95 อายุความ

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมา ยังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ 

(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอด ชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี 

(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยัง ไม่ถึงยี่สิบปี 

(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี 

(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี 

(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น 

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิด หลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้ว นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความ เช่นเดียวกัน 

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การรับผิดทางอาญา

 มาตรา ๕๙
            บุคคล จะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อ ได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่ จะได้กระทำ โดยประมาท ในกรณีที่ กฎหมายบัญญัติ ให้ต้องรับผิด เมื่อได้กระทำ โดยประมาท หรือเว้นแต่ ในกรณีที่ กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัด ให้ต้องรับผิด แม้ได้กระทำ โดยไม่มีเจตนา
            กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึก ในการที่กระทำ และ ในขณะเดียวกัน ผู้กระทำ ประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผล ของการกระทำนั้น
            ถ้า ผู้กระทำ มิได้รู้ ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบ ของความผิด จะถือว่า ผู้กระทำ ประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผล ของการกระทำนั้น มิได้
            กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิด มิใช่โดยเจตนา แต่กระทำ โดยปราศจาก ความระมัดระวัง ซึ่ง บุคคล ในภาวะเช่นนั้น จักต้องมี ตาม วิสัย และ พฤติการณ์ และ ผู้กระทำ อาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่ หาได้ใช้ ให้เพียงพอไม่
            การกระทำ ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผล อันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้น การที่จักต้องกระทำ เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
 

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การรอลงอาญา


หลักกฎหมาย ซึ่งหลักกฎหมายเกี่ยวกับเรื่อง “การรอการลงโทษ” หรือ “การรอลงอาญา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มีหลักดังนี้ คือ
  1. ผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้น ศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
  2. ไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (คือความผิดที่มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน)
  3. ศาลจะวินิจฉัยโดยคำนึงถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานี
  4. เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ก็ได้
          ผมอยากให้สังเกตในข้อ 2. ให้ดีแล้วจะพบว่า การรอการลงอาญานั้น ผู้กระทำความผิดต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนคำ ว่า “โทษจำคุก” ใน ที่นี้ หมายถึง การถูกจำคุกจริง ๆ ถูกคุมขังในเรือนจำจริง ๆ ฉะนั้นคำว่าได้รับโทษจำคุกในที่นี้ จึงไม่รวมถึงการรอลงอาญา แม้จะเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกก็ตาม ทั้งนี้ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การรอลงอาญาไม่ถือว่าเป็นการได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงมีคำสั่งให้รอการลงโทษไว้อีกได้ (ฎ.1983/2497)
          ดังนั้น ผู้กระทำความผิดอาญาที่ถูกตัดสินให้จำคุกแต่ศาลสั่งรอลงอาญาไว้ เมื่อกระทำความผิดอีก ศาลอาจจะสั่งให้รอลงอาญาเอาไว้อีกก็ได้ อย่างไร ก็ตาม ศาลจะพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และลักษณะของบุคคลนั้น ๆ ว่าสมควรจะรอการลงโทษไว้หรือไม่ เพราะลักษณะนิสัยของบางคนชอบกระทำความผิดอยู่เป็นประจำ หรือที่เรียกกันตามภาษากฎหมายว่า “มีเถียรจิตเป็นโจร” อย่างนี้ศาลอาจจะไม่สั่งให้รอลงอาญาในคดีใหม่ และอาจจะยกเลิกการรอลงอาญาในคดีเก่า แล้วนำโทษในคดีเก่ามารวมกับโทษในคดีใหม่ก็ได้
          ท้ายสุดนี้ ผมข้อฝากแง่คิดเอาไว้ว่า คนเราเมื่อทำผิดแล้วก็ควรที่จะปรับปรุงตัว โดยนำความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียน เรียกว่า “ผิดเป็นครู” แต่ ถ้าทำผิดแล้วยังไม่สำนึก และยังคงทำผิดอีกหลายครั้ง ก็เป็นการสมควรแล้วที่จะถูกลงโทษให้เข็ดหลาบ เพื่อจะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ที่คิดจะกระทำผิดต่อไปภายภาคหน้า

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักทรัพย์ ที่ใช้ประกันตัว

เงินสด, โฉนดที่ดิน, นส3,พันธบัตร,ตำแหน่งข้าราชการ

การแจ้งความร้องทุกข์ คดีฉ้อโกง


 การ กระทำความผิดอาญาโดยทั่วไปผู้เสียหายจะต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจดำเนินคดีให้ผู้เสียหายได้ หลักเกณฑ์การร้องทุกข์หรือที่เราเรียกกันว่าง่าย ๆ ว่า "การแจ้งความ" นั้น คือ การที่ผู้เสียหายกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นไม่ว่า จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้วามผิด เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็สามารถดำเนินการได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ร้องทุกข์ ก็ตาม

โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ แต่ ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่น คดีขัดต่อศีลธรรมอันดี ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย เช่น คดีฆ่าคนตาย ลักทรัพย์ คดีรุมโทรม หรือข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เหล่านี้ หากพบการกระทำคสรุป
-ถ้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเอง ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำ ความผิด หมายความว่าถ้าผู้เสียหายร้องทุกข์ไว้ภายใน 3 เดือน คดีก็สามารถดำเนินต่อไปได้ และต่อมา ถ้าผู้เสียหาย จะฟ้องคดีเองอีกก็ได้ เพราะถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ร้องทุกข์หรือ "ยังไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย" ผู้เสียหายก็ต้องรีบฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน ไม่เช่นนั้น คดีจะขาดอายุความฟ้องเองก็ไม่ได้

คดีที่กฎหมาย บัญญัติว้ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น คดีอาญาความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค คดียักยอก คดีฉ้อโกง คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีข่มขืนต่อผู้ที่อายุเกิน 15 ปี (ซึ่งต้องไม่เป็นการรุมโทรม, ไม่ได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้ใช้อาวุธ ไม่ได้กระทำต่อบุตร หรือผู้ที่อยู่ในปกครอง และผู้เสียหาย ไม่ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย) ฯลฯ ดังนั้นนอกจากจะต้องแจ้งความหรือฟ้องคดีเองภายใน 3 เดือนแล้ว คำแจ้งความร้องทุกข์นั้นจะต้องเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายด้วย ไม่เช่นนั้น จะถือเท่ากับว่า ยังไม่มีการร้องทุกข์ ดังนั้นถ้าเกิน 3 เดือน ผู้เสียหายจะนำคดีมาฟ้องเองก็ไม่ได้

ส่วนที่สำคัญของการร้องทุกข์คือว่า ผู้เสียหายจะต้องกล่าวหาโดยมีเจตนาที่จะให้ผู้กระทำความผิด ได้รับโทษ แต่เราจะพบบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายไปแจ้งความไว้ แต่ลงบันทึกประจำวันไว้ว่า "แจ้งไว้ เป็นหลักฐาน" เช่น บางครั้งผู้เสียหายยังต้องการจะเจรจากับผู้ต้องหา เมื่อได้แจ้งข้อเท็จจริงกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ก็จะระบุไว้ว่า แจ้งเป็นหลักฐานเพื่อ ไม่ให้คดีขาดอายุความ แจ้งไว้เพื่อนำเรื่อง ไปจัดการเอง แจ้งว่าถูกข่มขืน แต่จะดูไปก่อน ถ้าผู้ต้องหาย้อนมาอีกก็จะเอาเรื่องถ้าไม่มาอีกก็แล้วไป เหล่านี้ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายเพราะเป็นการแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ถือว่าขณะนั้นยังไม่มีเจตนา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีผู้กระทำความผิด เท่ากับยังไม่ได้มีการร้องทุกข์ ดังนั้นผู้เสียหายจึงต้อง ไปร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ภายใน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นถ้าเกิน 3 เดือนคดีจะขาดอายุความ

สำเนาในใบบันทึกประจำวันที่ส่งมาให้ดูนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นการไปแจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจ ในการสอบสวน เพราะยังไม่ถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย ถ้าหากยังไม่เกิน 3 เดือน คุณก็อาจจะไปแจ้งความร้องทุกข์ใหม่ให้ถูกต้องหรือฟ้องคดีเองก็ได้ แต่นี่เกิน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุแล้วคดีขาดอายุความร้องทุกข์และคุณฟ้องเองก็ไม่ได้ 


สรุป

-ถ้าโดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้ครับ

 ถ้าแจ้งความภายใน3เดือน อายุความจะอยู่ที่10ปีคือ คดีจะติดตัว ผู้กระทำผิดให้ตำรวจได้ตามจับ หรือยื่นเรื่องฟ้องร้องได้ภายใน10ปี อ้างอิง คือหนีไปเหอะ10ปีเอง555



สารพัดกลโกง “แชร์ลูกโซ่” เกิดง่ายรวยเร็ว

แม้จะมีการปราบปรามกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้ามือแชร์ลูกโซ่ แต่เรื่องก็เงียบหายไประยะหนึ่ง จากนั้นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ก็เกิดขึ้นมาอีก ด้วยรูปแบบของตัวสินค้าที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะอุปโลกน์อะไรมาเป็นสินค้า แต่เป้าหมายทุกอย่างยังเหมือนเดิมคือดูดเงินจากคนอื่นเข้ากระเป๋าตัวเอง
       
        วิธีการของแชร์ลูกโซ่นั้นส่วนใหญ่มักมุ่งไปที่กลุ่มคนโลภ อยากได้ผลตอบแทนสูง ๆ โดยที่มีขั้นตอนในการลงทุนที่ไม่ยุ่งยาก โชว์ตัวเลขให้เห็นว่าได้ผลตอบแทนมากว่าเงินลงทุนหลายเท่าตัว หลักการแบบนี้สามารถกวาดคนได้ทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่มีการศึกษาสูง
         ดังนั้น การสร้างภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่ชื่อบริษัทต้องฟังแล้วทันสมัยหรือเป็นสากล สถานที่ทำการต้องหรูหรา ห้องสัมมนาในโรงแรมหรู การแต่งกายของทีมงานไม่แตกต่างจากนักธุรกิจ ผูกไท ใส่สูท มีแบบฟอร์มพนักงาน
       
        ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้บรรยายจะเป็นคนที่มีศิลปะในการพูด พูดทำให้คนคล้อยตามได้ พูดแล้วคนที่มาฟังต้องอยากเป็นสมาชิก แม้ไม่มีเงินก็ขวนขวายที่จะกู้ยืมคนอื่นมาเพื่อมาลงทุน
       
        ในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีอีกหลายรายที่ยังเปิดให้บริการอยู่ บางรายคือลูกทีมของแชร์ข้าวสารที่แยกตัวออกมาตั้งกิจการเอง เนื่องจากทราบถึงหลักการใหญ่ของแชร์ข้าวสารแล้วนำมาปรับใช้เป็นของตัวเอง
       
        การเปิดบริษัทใหม่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายเพียงแค่ไปขอจดทะเบียนในรูปบริษัทกับพาณิชย์จังหวัดหรือที่กระทรวงพาณิชย์ จากนั้นก็ดำเนินการได้เลย เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่จะเข้ามาตรวจสอบในช่วงเริ่มแรก
       
        เมื่อมีหลายเจ้าดังนั้นการกำหนดผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะถือว่าเป็นตัวเลขที่จะเรียกลูกค้าได้ดี รวมถึงเรื่องของวันที่กำหนดให้มารับเงินปันผลแต่ละงวดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
       

        ตัวอย่างที่เชียงใหม่นั้นกำหนดราคาสินค้าไว้ที่ 1,450 บาท หากไม่รับสินค้าคืนเงิน 800 บาท ซึ่งผู้ที่ต้องการเข้าไปลงทุนนั้นไม่ได้ต้องการสินค้าอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการเงินปันผลที่จะได้รับตามที่เจ้าของแชร์กำหนดไว้ เงินลงทุนเริ่มแรกจึงเท่ากับ 650 บาท จากนั้นอีก 25 วันรับเงินคืน 1,200 บาทและอีก 50 วันรับคืนอีก 800 บาท
       
        สมมติให้กลุ่มแรกที่เข้าไปลงทุนมี 5 คน ลงทุนคนละ 650 บาทเท่ากับเจ้าของได้เงินไปทั้งสิ้น 3,250 บาท วันถัดมาเริ่มกลุ่มที่ 2 เข้ามาหากมีเข้ามาอีก 30 คนเจ้าของจะได้เงินไป 19,500 บาท จากนั้นมีกลุ่มที่ 3 เข้ามาอีก 500 คนจะมีเงินไหลไปที่เจ้าของอีก 325,000 บาท เอาเป็นว่าพอรับกลุ่มที่สามเสร็จครบกำหนด 25 วันพอดี เจ้าของแชร์จะมีเงินอยู่ในมือ 347,750 บาท แต่จ่ายให้กับกลุ่มแรกไปเพียง 6,000 บาท เหลือเงิน 341,750 บาท
       
        จากนั้นก็รับลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ อีกสมมติว่าได้ลูกค้ารอบหลังอีก 1,000 คน จะได้เงินเข้ามาอีก 650,000 บาท เจ้าของจะมีเงินในมือ 991,750 บาท หากกลุ่ม 2 ครบกำหนด 25 วันก็จ่ายเงินคืน 36,000 บาท และถ้าครบช่วง 50 วันที่จะต้องจ่ายเงินให้กับกลุ่มที่ 1 อีก 4,000 บาท เจ้ามือยังเหลือเงินอีก 951,750 บาท
หลักการของแชร์ลูกโซ่คือการเอาเงินค่าซื้อสินค้าของสมาชิกรายใหม่มาให้กับเจ้าของแชร์แล้วนำมาจ่ายต่อให้กับสมาชิกที่เข้ามาก่อนหน้าเท่านั้นเอง นั่นคือตัวธุรกิจนี้จะอยู่ได้ด้วยเงินของสมาชิกใหม่เท่านั้น หากมีสมาชิกใหม่เข้ามาน้อยวงจรการจ่ายเงินคืนให้กับสมาชิกก็จะสะดุดลง
       
        การกำหนดช่วงเวลาเช่น 25 วัน และหลังจากจ่ายครั้งแรกอีก 50 วันนั้นถือเป็นการประมาณการว่าในช่วงเวลาประมาณ 75 วันนั้นน่าจะเพียงพอที่จะหาสมาชิกใหม่เข้ามาจ่ายเงินให้กับเจ้าของและสมาชิกรุ่นก่อนหน้านี้ได้
       
        ในช่วงแรกที่ทุกคนตาโตกับตัวเลขของรายได้ เจ้าของแชร์อาจจะไม่มีเงื่อนไขให้สมาชิกเก่าต้องชักชวนสมาชิกใหม่เข้ามา แต่ถ้าประเมินแล้วว่ายอดสมาชิกใหม่เริ่มอืดก็อาจมีการให้ผลตอบแทนสำหรับสมาชิกเก่าที่สามารถแนะนำสมาชิกใหม่
       
        ตัวเลขที่ยกตัวอย่างนั้นเป็นการสมมติให้ทุกคนลงทุนคนละ 1 หุ้นหรือ 650 บาท ตัวเลขสมาชิกที่เข้ามาแต่ละชุดอาจจะมาหรือน้อยกว่าตัวเลขที่ยกมาก็ได้ เพราะผู้ที่เข้ามาลงทุนจริงๆ แล้วไม่ได้เข้ามาซื้อแค่คนละ 1 หุ้นแน่นอน บางคนลงทุนครั้งแรกกันเป็นแสน ลองคิดดูให้ดีว่าเจ้าของแชร์จะถือครองเงินเป็นล้าน ๆ บาทภายในเวลาไม่กี่วัน
       
        หากต้องการได้เงินที่มากกว่านี้เจ้าของแชร์ก็ต้องบริหารจัดการในเรื่องการหาสมาชิกใหม่ให้ดีพร้อมทั้งจัดสรรเงินให้กับสมาชิกในช่วงแรกๆ ให้ดีเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อจะได้ให้คนที่เป็นสมาชิกเอาไปบอกต่อ ถือเป็นการทำประชาสัมพันธ์ให้กับกิจการตัวเอง แม้ในบางช่วงยอดลูกค้าใหม่อาจจะไม่ตามเป้า ต้องควักเงิน(คนอื่น) จ่ายออกไปบ้างก็ตาม ตราบใดที่ยอดสมาชิกใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่องแล้วละก็โอกาสล้มก็จะช้าออกไป
       
        เกมนี้เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ไม่มีรายใหม่เข้ามาถือว่าจบเกม แน่นอนว่าตัวเจ้าของจะทราบว่าสถานการณ์ในขณะนั้นควรจะสู้ต่อหรือเผ่น


ฉ้อโกงประชาชน


มาตรา  343    ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน” หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

กฏหมายอาญา มาตรา 341 ฉ้อโกง

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีสังเกตธุรกิจขายตรงแอบแฝงที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่

วิธีสังเกตธุรกิจขายตรงแอบแฝงที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่

 1. พิจารณาจากจำนวนสินค้า หรือสิ่งของที่ได้รับจากการร่วมลงทุนในธุรกิจ หากมีการซื้อขายแต่ว่าไม่ได้รับสินค้าหรือสิ่งของใดในการร่วมลงทุน ให้ระวังไว้ว่า ท่านอาจกำลังตกเป็นเหยื่อในการหลอกลวง
          2. หากได้รับสินค้าจากการลงทุนทำธุรกิจแชร์ แต่สินค้าที่ได้มาในการลงทุนไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ต้องเสียไป เช่น การฉ้อโกงธุรกิจแชร์น้ำมันเครื่อง หรือธุรกิจแชร์อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ จะถูกหลอกให้  ร่วมลงทุน แล้วต้องหาลูกค้ารายอื่นๆ เข้ามาร่วมลงทุนต่อๆกันไป โดยแต่ละรายต้องลงทุนไปจำนวนเงิน 20,000 บาท แต่ได้สินค้าตอบแทนมาเพียงเล็กน้อย เช่น อุปกรณ์ล้างรถ และกระป๋องน้ำยาขัดรถ ราคารวมประมาณ1,500 บาท เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ทันทีว่า ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ชำระไป ซึ่งการกระทำโดยการให้สิ่งตอบแทนที่ไม่คุ้มกับราคานี้ เป็นเพียงการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ให้มีลักษณะดูเสมือนว่าเป็นการซื้อขาย     กันจริงเท่านั้น
          3. ในกรณีการชักชวนทำธุรกิจที่ไม่มีสินค้า แต่แอบแฝงมาในรูปแบบของบริการหรือมีลักษณะที่ไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ เช่น ชักชวนลงทุนทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในจัดทำเว็บไซต์ โดยจะมีการชักชวนประชาชนว่าเป็นการเข้าไปสมัครเช่า Hosting และทำธุรกิจโดยการให้เช่าพื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ในลักษณะเช่าต่อๆกันไปหลายราย ดูเสมือนว่า มีการซื้อขายของกันจริง แต่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จะทราบดีว่าการเปิดเว็บไซต์ในแต่ละเว็บไซต์จะมีค่าใช้จ่ายน้อยมาก ฟรีเว็บไซต์เลยก็มี และเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ที่ทำการเปิดแทบที่จะมีค่าน้อยหรือไม่มีค่าใดๆเลย และที่สำคัญคนที่ต้องการจะจัดทำเว็บไซต์จริงๆแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาขอเช่าพื้นที่จากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวแต่อย่างใด 
          4. พิจารณาจากรายได้ผลตอบแทน จากการประกอบการของธุรกิจที่มีการชักชวนให้ร่วมลงทุน หากผลประกอบการมีลักษณะที่สูงเกินกว่าปกติ ที่สามัญชนในการประกอบการค้าประเภทนั้นๆ พึงได้ ให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเข้าข่ายลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจแชร์ ที่ผิดกฎหมาย และอาจถูกหลอกลวงได้
          5. การทำธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนร่วมลงทุนในลักษณะเครือข่าย หรือลักษณะแชร์ลูกโซ่ หากถูกต้องตามกฎหมาย ธุรกิจเหล่านี้จะต้องทำการจดทะเบียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยต้องทำการชี้แจงแผนการทำตลาดให้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ทราบในรายละเอียดของการประกอบธุรกิจที่ชัดเจนทุกขั้นตอน
          6. พิจารณาจากที่ทำการที่ตั้งอันเป็นหลักแหล่งของผู้ประกอบการรวมทั้งการติดต่อของผู้ชักชวนให้ประกอบธุรกิจร่วมว่า มีที่ตั้งของสำนักงานในการประกอบธุรกิจที่แน่นอนหรือไม่ และสามารถที่จะติดต่อได้ตลอดเวลาทำการหรือไม่ หากมีการย้ายที่ประกอบการไปมาบ่อยครั้ง ปิดเว็บไซต์ หรือไม่สามารถที่จะติดต่อได้ น่าจะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อประสงค์ฉ้อโกงประชาชน

วิธีการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง
 อย่าหลงเชื่อบุคคลหรือบริษัทที่ชักชวนให้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจใดๆ ก็ตามที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากมีการเร่งรัดให้นำเงินมาลงทุน ขอให้พึงทราบได้เลยว่ากำลังจะถูกหลอกลวง ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินทองและทรัพย์สินในที่สุด นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลของบุคคลหรือบริษัทอย่างรอบคอบว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และตรวจสอบเอกสารที่ได้มาว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบในการออกเอกสารดังกล่าว และหากพบเห็น สงสัย หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าว โปรดแจ้ง “ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร.1359 หรือ ตู้ ป.ณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500 หรือ 1359@mof.go.th 

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์ประชุม นีโอไลฟ์ทั่วประเทศ

นีโอไลฟ์มีศูนย์ประชุมทั่วประเทศ ทั่วทุกภาคของประเทศ สนใจที่จะร่วมฟังช่องทางทำธุรกิจ คลิ๊ก

ย้ายที่ประชุม อยุธยา

นีโอไลฟ์สาขาอยุธยา ได้เปลี่ยนที่ประชุม จากโรงแรม เป็นศูนย์สาขาบริษัท  คลิ๊ก

ปฏิทิน VIP,ทำบุญนีโอไลฟ์

ปฏิทินนีโอไลฟ์  คลิ๊ก

อบรมจิตวิทยาครั้งสุดท้ายของปี 2555

กำหนดการอบรมจิตวิทยาของบริษัทนีโอไลฟ์  คลิ๊ก