วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เอดส์คืออะไร
เอดส์ คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลงเนื่องจากร่างการได้รับเชื้อไวรัสที่เรียกว่า (HIV) หรือเชื้อไวรัสเอดส์ทำให้เม็ดเลือดขาว ที่เป็นภูมิคุ้มกันถูกทำลายลง จนร่างกายติดเชื้อโรคอื่น ๆได้ง่าย โดยเฉพาะโรคติดเชื้อฉกฉวยหรือโรคแทรกซ้อน ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยเอดส์ จึงมีอาการแสดงออกของโรคต่าง ไ เช่นโรคปอด,โรคผิวหนังและโรคอื่น ๆ เป็น ๆ หายๆ หากไม่ได้รับการรักษาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ภูมิคุ้มกันจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิต
เอดส์ป้องกันได้
1. งดการเที่ยวแหล่งบริการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
2. หากจะมีเพศสัมพันธ์ควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
3. ถ้าจะมีบุตร ควรตรวจเลือดทั้งสามีและภรรยาเพราะบุตรอาจติดเชื้อ
4. งดการดื่มสุราเพราะอาจพาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
5. ถ้าพบอุบัติเหตุที่มีเลือดกระจาย เวลาช่วยเหลือควรใช้ถุงมือหรือถุงพลาสติกทุกครั้ง
6. หยุดเสพยาเสพติด หากเลิกไม่ได้ ควรใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่สะอาด
ทางไม่ติดเชื้อเอดส์
1. การอยู่ในบ้านเดียวกัน
2. จูบแบบธรรมดา
3. ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
4. ใช้ภาชนะใส่อาหารร่วมกัน
5. ไอ จามรดกัน
6. ใช้ห้องน้ำร่วมกัน
7. ยุงหรือแมลงกัด
8. การกอดกันธรรมดา
9. การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
10. การอยู่ร่วมกันในชุมชน เช่นโรงภาพยนต์ สโมสร
วิธีปฏิบัติตนถ้าคุณติดเชื้อเอดส์
1. ไม่รับเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นอีก โดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศระหว่างผู้ติดเชื้อเอดส์โดยไม่ใช้ถุงยาง ต่างฝ่ายจะเพิ่มเชื้อให้กัน และจำทำให้ทั้งสองฝ่ายมีอาการเร็วขึ้น
2. มีกำลังใจดีและเข็มแข็ง ภาวะซึมเศร้าจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
3. บำรุงร่างกายให้แข็งแรงรับประทานอาหารครบทุกหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
4. งดการบริจาคเลือดหรืออวัยวะให้ผู้อื่น
5. ลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดย
- อยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทดี
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข นก แมว เพราะสัตว์เหล่านี้มีเชื้อโรคและพยาธิมาก
- งดรับประทานอาหารดิบ ๆ สุก ๆ
- ควรดื่มนมพาสเจอร์ไรส์แล้ว
เอดส์ป้องกันได้
1. งดการเที่ยวแหล่งบริการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
2. หากจะมีเพศสัมพันธ์ควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
3. ถ้าจะมีบุตร ควรตรวจเลือดทั้งสามีและภรรยาเพราะบุตรอาจติดเชื้อ
4. งดการดื่มสุราเพราะอาจพาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
5. ถ้าพบอุบัติเหตุที่มีเลือดกระจาย เวลาช่วยเหลือควรใช้ถุงมือหรือถุงพลาสติกทุกครั้ง
6. หยุดเสพยาเสพติด หากเลิกไม่ได้ ควรใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่สะอาด
ทางไม่ติดเชื้อเอดส์
1. การอยู่ในบ้านเดียวกัน
2. จูบแบบธรรมดา
3. ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
4. ใช้ภาชนะใส่อาหารร่วมกัน
5. ไอ จามรดกัน
6. ใช้ห้องน้ำร่วมกัน
7. ยุงหรือแมลงกัด
8. การกอดกันธรรมดา
9. การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
10. การอยู่ร่วมกันในชุมชน เช่นโรงภาพยนต์ สโมสร
วิธีปฏิบัติตนถ้าคุณติดเชื้อเอดส์
1. ไม่รับเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นอีก โดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ร่วมเพศระหว่างผู้ติดเชื้อเอดส์โดยไม่ใช้ถุงยาง ต่างฝ่ายจะเพิ่มเชื้อให้กัน และจำทำให้ทั้งสองฝ่ายมีอาการเร็วขึ้น
2. มีกำลังใจดีและเข็มแข็ง ภาวะซึมเศร้าจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
3. บำรุงร่างกายให้แข็งแรงรับประทานอาหารครบทุกหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
4. งดการบริจาคเลือดหรืออวัยวะให้ผู้อื่น
5. ลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดย
- อยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทดี
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข นก แมว เพราะสัตว์เหล่านี้มีเชื้อโรคและพยาธิมาก
- งดรับประทานอาหารดิบ ๆ สุก ๆ
- ควรดื่มนมพาสเจอร์ไรส์แล้ว
ไวรัสตับอักเสบ
ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย มีน้ำหนัก 1,200-1,500 กรัม ในผู้ใหญ่ในเด็กขนาดตับจะใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของร่างกายลักษณะคล้ายตับหมู
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนโรงงานเคมีที่สำคัญที่สุด เพราะหน้าที่มากมาย เช่น เปลี่ยนสภาพของสารอาหารจำพวกโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ที่กินเข้าไปให้อยู่ในสภาพใช้ได้
ทำหน้าที่เป็นคลัง โดยตับจะเก็บกลัยโคเจนไขมันฯลฯ เอาไว้และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
ทำหน้าที่สังเคราะห์ เช่น สร้างโปรตีนต่าง ๆ เช่น สร้างโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว (ไฟบริโนเจน) แอลบูมิน และสร้างน้ำดี ทำหน้าที่กำจักสารพิษหรือยาที่เราทานเข้าไป
โดยเหตุที่ตับทำหน้าที่มากมาย เมื่อตับเป็นโรคจึงกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายอย่างมาก โรคตับมีมากมายหลายสิบชนิดโดยในประเทศไทยรู้จักกันดีในคำว่า ตับอักเสบ จึงพบว่า เป็นการอักเสบจากไวรัสมากที่สุด
โรคตับอักเสบจากไวรัส หมายถึง โรคทีเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสทำให้เกิดการอักเสบที่ตับโดยตรง และกระจายไปทั่วทั้งตับมนุษย์พบพันธ์นี้มานานกว่า 2,000 ปี จนเมื่อ 30 ปีมานี้เองมีการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมายที่เกี่ยวกับไวรัสและกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่
1. ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม
2. ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อโดยการรับเลือด ผลผลิตจากเลือดหรือเข็มฉีดยา
3. ไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อคล้ายไวรัสบี
4. ไวรัสตับอักเสบดี ยังไม่พบข้อมูลที่แน่นอน
5. ไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อคล้ายไวรัสเอ
ประวัติและอาการ
โดยปกติตับอักเสบจากไวรัสเอ,บี,ซี,ดี,อี มีอาการคล้ายคลึงกันมาก จนแยกกันไม่ได้แต่ลนิด บี จะรุนแรงกว่าชนิดอื่น
อาการเริ่มแรกจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว ต่อมามีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร (ทานยาแก้หวัดจะไม่ดีขึ้น) มีคลื่นไส้อาเจียน จะอ่อนเพลียมาก หลังจากมีไข้ 4-5 วัน หรือหลังจากอาเจียน 2-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มตาเหลือง ตัวเหลืองและปัสสาวะสีเข้ม ช่วงที่มีตาเหลืองอาการไข้จะเริ่มหายไป คลื่อนไส้ อาเจียนก็ไม่มี เจริญอาหารสบายตัวขึ้นมาก แต่อาการตาเหลืองยังคงมีต่อไประยะหนึ่ง แต่ละคนอาจเร็วหรือช้าต่างกัน
มีผู้ป่วยบางรายเป็นตับอักเสบจากไวรัสโดยไม่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งจะตรวจได้โดยการตรวจเลือดดูสมรรถภาพของตับเท่านั้น
ดังนั้นหากท่านมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยได้แต่เนิ่น ๆ หรือทางที่ดีที่สุดก็คือ “ตรวจสุขภาพประจำปี” และ”ฉีดวัคซีน”
ด้วยความห่วงใยจาก….สมัย สำลี
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนโรงงานเคมีที่สำคัญที่สุด เพราะหน้าที่มากมาย เช่น เปลี่ยนสภาพของสารอาหารจำพวกโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ที่กินเข้าไปให้อยู่ในสภาพใช้ได้
ทำหน้าที่เป็นคลัง โดยตับจะเก็บกลัยโคเจนไขมันฯลฯ เอาไว้และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
ทำหน้าที่สังเคราะห์ เช่น สร้างโปรตีนต่าง ๆ เช่น สร้างโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว (ไฟบริโนเจน) แอลบูมิน และสร้างน้ำดี ทำหน้าที่กำจักสารพิษหรือยาที่เราทานเข้าไป
โดยเหตุที่ตับทำหน้าที่มากมาย เมื่อตับเป็นโรคจึงกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายอย่างมาก โรคตับมีมากมายหลายสิบชนิดโดยในประเทศไทยรู้จักกันดีในคำว่า ตับอักเสบ จึงพบว่า เป็นการอักเสบจากไวรัสมากที่สุด
โรคตับอักเสบจากไวรัส หมายถึง โรคทีเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสทำให้เกิดการอักเสบที่ตับโดยตรง และกระจายไปทั่วทั้งตับมนุษย์พบพันธ์นี้มานานกว่า 2,000 ปี จนเมื่อ 30 ปีมานี้เองมีการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมายที่เกี่ยวกับไวรัสและกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่
1. ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม
2. ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อโดยการรับเลือด ผลผลิตจากเลือดหรือเข็มฉีดยา
3. ไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อคล้ายไวรัสบี
4. ไวรัสตับอักเสบดี ยังไม่พบข้อมูลที่แน่นอน
5. ไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อคล้ายไวรัสเอ
ประวัติและอาการ
โดยปกติตับอักเสบจากไวรัสเอ,บี,ซี,ดี,อี มีอาการคล้ายคลึงกันมาก จนแยกกันไม่ได้แต่ลนิด บี จะรุนแรงกว่าชนิดอื่น
อาการเริ่มแรกจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว ต่อมามีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร (ทานยาแก้หวัดจะไม่ดีขึ้น) มีคลื่นไส้อาเจียน จะอ่อนเพลียมาก หลังจากมีไข้ 4-5 วัน หรือหลังจากอาเจียน 2-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มตาเหลือง ตัวเหลืองและปัสสาวะสีเข้ม ช่วงที่มีตาเหลืองอาการไข้จะเริ่มหายไป คลื่อนไส้ อาเจียนก็ไม่มี เจริญอาหารสบายตัวขึ้นมาก แต่อาการตาเหลืองยังคงมีต่อไประยะหนึ่ง แต่ละคนอาจเร็วหรือช้าต่างกัน
มีผู้ป่วยบางรายเป็นตับอักเสบจากไวรัสโดยไม่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งจะตรวจได้โดยการตรวจเลือดดูสมรรถภาพของตับเท่านั้น
ดังนั้นหากท่านมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยได้แต่เนิ่น ๆ หรือทางที่ดีที่สุดก็คือ “ตรวจสุขภาพประจำปี” และ”ฉีดวัคซีน”
ด้วยความห่วงใยจาก….สมัย สำลี
เป็นโรคเก๊าต์ อะไรทานได้อะไรทานไม่ได้
โรคเก๊าต์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายทำให้กรดยูริคในเลือดสูง และกรดยูริคนี้จะเป็นผลึกไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆของร่างกาย ถ้าเกาะตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือข้อเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเป็นๆหายๆ ถ้าไม้ได้รับการรักษาอาการจะรุนแรงขึ้นจนข้อพิการได้ นอกจากของการรักษาของแพทย์แล้ว การรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคได้เป็นอย่างดี
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภท เครื่องในสัตว์ กะปิ ปลากระป๋อง ไข่ปลา น้ำต้มเนื้อ ยอดผักโขม ชะอม ถั่วเมล็ดแห้ง
2. งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคได้น้อยลง
3. อาหารประเภทนม เนยสด เนยแข็ง ไข่ ข้าว ผลไม้ สามารถรับประทานได้อย่างปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน
- น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้ง
- ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ
- ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม
- น้ำหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ผลไม้รสหวานจัดเช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด อ้อย
2. อาหารที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
- อาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว เผือก มัน ถั่ว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มักกะโรนี
- อาหารไขมันสูง เช่นขาหมู่ ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น อาหารทอด
- ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่นหัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม
- ผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย
3. อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด
- ผักทุกชนิด (ยกเว้นที่มีแป้งมาก)
- อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไห่ วัว ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น
ข้อเท้าแผลงทำอย่างไร
1. หยุดการลงน้ำหนักบนเท้านั้น หลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ พันผ้ายืดเพื่อลดการเคลื่อนไหว
2. ยกเท้าสูงเพื่อให้เลือดและของเสียไหลกลับได้ดีขึ้น
3. ชั่วโมงแรก ประคบความเย็น 15-20 นาที เพื่อลดบวม หลังจากนั้นประคบด้วยความร้อนเพื่อเป็นการซ่อมแซม หากมีการบวมหรือปวดมากและนานผิดปกติควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
ปวดคอเนื่องจากนอนตกหมอน
คอตกหมอนจะมีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน มักจะเกิดหลังจากตื่นนอน มีวิธีแก้ไขดังนี้
1. พักผ่อนโดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก
2. ถ้าปวดคอภายใน 24 ช.ม. ควรประคบด้วยถุงผ้าหอน้ำแข็ง10-15 นาที
3. ถ้าปวดนานกว่า 24 ช.ม.ประคบร้อนด้วยถุงน้ำร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น 15-20 นาที
4. รับประทานยาเพื่อลดปวด
5. การยืดคอด้วยตนเองทำได้โดยดึงศรีษะไปในทิศทางที่หันไม่ได้ ช้า ๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 30 นาที ทำชุดละ 3-10 ครั้งวันละ 3 ชุด
6. ไม่ควรนวดในระยะปวดเฉียบพลันเพราะจะทำให้ปวดมาก หากยังไม่หายให้พบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
เป็นลมหรือหมดสติ
- ให้จับผู้ป่วยนอนราบลง ไม่ต้องหมุนหมอนให้ตะแคงหน้าไปด้านหนึ่ง เพื่อกันสำลักถ้าอาเจียนหรือมีเสมหะ
- ขยายเสื้อผ้าให้หลวมโดยเฉพาะบริเวณคอ
- ถ้าอากาศร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า
- ถ้าผู้ป่วยตัวเย็นก็ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
- ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว อย่าพยายามให้ดื่มน้ำหรือกรอกยา เพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ง่าย ๆ
เล็บขบเจ็บจัง
เมื่อขอบเล็บด้านนอกงอกเข้าไปในเนื้อ หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้เล็บขบจนรู้สึกปวด มีวิธีแก้ไขดังนี้
- ไม่ควรตัดเล็บให้โค้งมน ให้ตัดตรง ๆ จะได้ป้องกันไม่ให้เล็บงอกเกินขอบจนฝังเข้าไปในเนื้อได้
- ถ้าเล็บงอกเข้าไปในเนื้อ ให้ตัดเล็บส่วนนั้นออกไป และจุ่มเท้าในน้ำอุ่น
- ใช้เศษผ้าฝ้ายหรือแผ่นสำลีบาง ๆ แทรกตรงมุมเล็บ จนกว่าเล็บจะงอกออกมา
- ถ้าเป็นมากจนเล็บตัดออกไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์
เมื่อถูกตีหรือกระแทกบริเวณลูกตา
- ปิดตาข้างที่บาดเจ็บด้วยผ้าที่สะอาด
- ใช้ผ้าพันทับอีกครั้ง แต่อย่าใช้แรงกดลงบนลูกตา
- การปิดตาทั้ง 2 ข้างจะเป็นการป้องกันการเคลื่อนไหวของตาข้างปกติ
- ประคบด้วยน้ำเย็น
- รีบไปพบแพทย์
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภท เครื่องในสัตว์ กะปิ ปลากระป๋อง ไข่ปลา น้ำต้มเนื้อ ยอดผักโขม ชะอม ถั่วเมล็ดแห้ง
2. งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคได้น้อยลง
3. อาหารประเภทนม เนยสด เนยแข็ง ไข่ ข้าว ผลไม้ สามารถรับประทานได้อย่างปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน
- น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้ง
- ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ
- ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม
- น้ำหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ผลไม้รสหวานจัดเช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด อ้อย
2. อาหารที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
- อาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว เผือก มัน ถั่ว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มักกะโรนี
- อาหารไขมันสูง เช่นขาหมู่ ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น อาหารทอด
- ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่นหัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม
- ผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย
3. อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด
- ผักทุกชนิด (ยกเว้นที่มีแป้งมาก)
- อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไห่ วัว ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น
ข้อเท้าแผลงทำอย่างไร
1. หยุดการลงน้ำหนักบนเท้านั้น หลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ พันผ้ายืดเพื่อลดการเคลื่อนไหว
2. ยกเท้าสูงเพื่อให้เลือดและของเสียไหลกลับได้ดีขึ้น
3. ชั่วโมงแรก ประคบความเย็น 15-20 นาที เพื่อลดบวม หลังจากนั้นประคบด้วยความร้อนเพื่อเป็นการซ่อมแซม หากมีการบวมหรือปวดมากและนานผิดปกติควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
ปวดคอเนื่องจากนอนตกหมอน
คอตกหมอนจะมีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน มักจะเกิดหลังจากตื่นนอน มีวิธีแก้ไขดังนี้
1. พักผ่อนโดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก
2. ถ้าปวดคอภายใน 24 ช.ม. ควรประคบด้วยถุงผ้าหอน้ำแข็ง10-15 นาที
3. ถ้าปวดนานกว่า 24 ช.ม.ประคบร้อนด้วยถุงน้ำร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น 15-20 นาที
4. รับประทานยาเพื่อลดปวด
5. การยืดคอด้วยตนเองทำได้โดยดึงศรีษะไปในทิศทางที่หันไม่ได้ ช้า ๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 30 นาที ทำชุดละ 3-10 ครั้งวันละ 3 ชุด
6. ไม่ควรนวดในระยะปวดเฉียบพลันเพราะจะทำให้ปวดมาก หากยังไม่หายให้พบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
เป็นลมหรือหมดสติ
- ให้จับผู้ป่วยนอนราบลง ไม่ต้องหมุนหมอนให้ตะแคงหน้าไปด้านหนึ่ง เพื่อกันสำลักถ้าอาเจียนหรือมีเสมหะ
- ขยายเสื้อผ้าให้หลวมโดยเฉพาะบริเวณคอ
- ถ้าอากาศร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า
- ถ้าผู้ป่วยตัวเย็นก็ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
- ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว อย่าพยายามให้ดื่มน้ำหรือกรอกยา เพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ง่าย ๆ
เล็บขบเจ็บจัง
เมื่อขอบเล็บด้านนอกงอกเข้าไปในเนื้อ หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้เล็บขบจนรู้สึกปวด มีวิธีแก้ไขดังนี้
- ไม่ควรตัดเล็บให้โค้งมน ให้ตัดตรง ๆ จะได้ป้องกันไม่ให้เล็บงอกเกินขอบจนฝังเข้าไปในเนื้อได้
- ถ้าเล็บงอกเข้าไปในเนื้อ ให้ตัดเล็บส่วนนั้นออกไป และจุ่มเท้าในน้ำอุ่น
- ใช้เศษผ้าฝ้ายหรือแผ่นสำลีบาง ๆ แทรกตรงมุมเล็บ จนกว่าเล็บจะงอกออกมา
- ถ้าเป็นมากจนเล็บตัดออกไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์
เมื่อถูกตีหรือกระแทกบริเวณลูกตา
- ปิดตาข้างที่บาดเจ็บด้วยผ้าที่สะอาด
- ใช้ผ้าพันทับอีกครั้ง แต่อย่าใช้แรงกดลงบนลูกตา
- การปิดตาทั้ง 2 ข้างจะเป็นการป้องกันการเคลื่อนไหวของตาข้างปกติ
- ประคบด้วยน้ำเย็น
- รีบไปพบแพทย์
ไซนัสคืออะไร :
ไซนัสคืออะไร :
ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้ว ขอบจมูก และโหนกแก้ม หน้าที่ปรกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบที่แน่นอน แต่อาจทำให้
1. กะโหลก
2. เสียงก้อง
3. สร้างเมือกและคุ้มกันให้โพรงจมูก
โดยปรกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูก ผ่านเข้าช่องเล็ก ๆ ที่ผนังข้างจมูกเพื่อใช้ในการต่อสู้ เชื่อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอมจากจมูกลงสู่ลำคอหรือออกทางจมูก
ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร :
เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องที่ติดต่อระหว่างโรงจมูก และโพรงไซนัสดังกล่าวอุดตัน ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงจมูก และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ ( อาจเกิดการสูดน้ำมูกอย่างแรง, หรือสั่งน้ำมูกอย่างแรง ขณะที่จมูกอุดตัน ) เชื้อโรคจะแบ่งตัวและทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกยิ่งบวมมากขึ้น จึงเกิดภาวะ “ไซนัสอักเสบ”
อาการ :
อาการของโรคไซนัสอักเสบอาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่โดยผู้ใหญ่จะมีอาการไขสูง, ปวดศรีษะ, และอ่อนเพลียได้มากกว่าในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งไม่ค่อยมีอาการดังกล่าว
เมื่อช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกเปิดออกเป็นครั้งคราวหนองและเมือกจากโพรงไซนัส ก็จะไหลลงสู่จมูกและคอ ทำให้เกิดอาการ ดังนี้
1. น้ำมูกไหล โดยสีน้ำมูกอาจะเป็นสีเขียวเหลืองหรือขาวเป็นมูก
2. ไอ เมื่อเมือกหรือหนองไหลลงคอ โดยเฉพาะตอนกลางคืน
3. หายใจมีกลิ่น
4. คออักเสบ เป็นหวัดบ่อย ๆ
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค
2. การลดบวมของโพรงจมูก เพื่อให้หนองในโพรงไซนัส ไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
การให้ยาฆ่าเชื้อโรค ( ยาปฏิชีวนะ )
1.ยาที่ให้ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่จะเป็นยา Amoxicillin/clavulonic acid, cefaclor, claithromycin, Erythromycin โดยจะให้การรักษานานประมาณ 2-6 อาทิตย์
2.การให้ยาเพื่อลดบวมของโพรงไซนัส โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือหรือการให้ยาผ่านจมูก
3.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ พบว่าเรื่องมากจากเป็นโรคภูมิแพ้ ดังนั้นผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงฝุ่น, หรือสิ่งกระตุ้นคือ ควันบุหรี่ การติดเชื้อจากคนรอบข้าง, การว่ายน้ำในสะที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการอยู่ในที่แออัด
นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกะโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้ว ขอบจมูก และโหนกแก้ม หน้าที่ปรกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบที่แน่นอน แต่อาจทำให้
1. กะโหลก
2. เสียงก้อง
3. สร้างเมือกและคุ้มกันให้โพรงจมูก
โดยปรกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูก ผ่านเข้าช่องเล็ก ๆ ที่ผนังข้างจมูกเพื่อใช้ในการต่อสู้ เชื่อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอมจากจมูกลงสู่ลำคอหรือออกทางจมูก
ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร :
เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องที่ติดต่อระหว่างโรงจมูก และโพรงไซนัสดังกล่าวอุดตัน ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงจมูก และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ ( อาจเกิดการสูดน้ำมูกอย่างแรง, หรือสั่งน้ำมูกอย่างแรง ขณะที่จมูกอุดตัน ) เชื้อโรคจะแบ่งตัวและทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกยิ่งบวมมากขึ้น จึงเกิดภาวะ “ไซนัสอักเสบ”
อาการ :
อาการของโรคไซนัสอักเสบอาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่โดยผู้ใหญ่จะมีอาการไขสูง, ปวดศรีษะ, และอ่อนเพลียได้มากกว่าในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งไม่ค่อยมีอาการดังกล่าว
เมื่อช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกเปิดออกเป็นครั้งคราวหนองและเมือกจากโพรงไซนัส ก็จะไหลลงสู่จมูกและคอ ทำให้เกิดอาการ ดังนี้
1. น้ำมูกไหล โดยสีน้ำมูกอาจะเป็นสีเขียวเหลืองหรือขาวเป็นมูก
2. ไอ เมื่อเมือกหรือหนองไหลลงคอ โดยเฉพาะตอนกลางคืน
3. หายใจมีกลิ่น
4. คออักเสบ เป็นหวัดบ่อย ๆ
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค
2. การลดบวมของโพรงจมูก เพื่อให้หนองในโพรงไซนัส ไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
การให้ยาฆ่าเชื้อโรค ( ยาปฏิชีวนะ )
1.ยาที่ให้ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่จะเป็นยา Amoxicillin/clavulonic acid, cefaclor, claithromycin, Erythromycin โดยจะให้การรักษานานประมาณ 2-6 อาทิตย์
2.การให้ยาเพื่อลดบวมของโพรงไซนัส โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือหรือการให้ยาผ่านจมูก
3.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ พบว่าเรื่องมากจากเป็นโรคภูมิแพ้ ดังนั้นผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงฝุ่น, หรือสิ่งกระตุ้นคือ ควันบุหรี่ การติดเชื้อจากคนรอบข้าง, การว่ายน้ำในสะที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการอยู่ในที่แออัด
นพ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
เวียนศรีษะ
โดย หมอ “เชวง”
โรคเกี่ยวกับระบบการทรงตัวของร่างกาย คือโรควิงเวียนศรีษะ จากประสบการณ์ที่ดูแลผู้ป่วยมานานพอสมควรพบอาการเป็นโรคนี้ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในระยะ 2-3 ปีหลังนี้นะครับพบเกือบทุกวัน หนักบ้าง เบาบ้าง อาการมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น มึน ๆ วิงเวียน สมองไม่โล่ง เมา ๆ (ทั้งที่ไม่ได้กินเหล้าหรือสุรา) มากจนถึงขั้นมีความรู้สึก “หมุน” อาจจะเป็นตัวหมุนเหวี่ยง,ลอยไปมาหรือรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมเช่น ผนังห้อง บ้านหมุนรอบตัวเรา พื้นเอียงไปมา ถ้าเป็นมากจะเสียการทรงตัว เดินแล้วอาจโซเซหรือล้มมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกความรู้สึกอยากจะปัสสาวะหรืออุจจาระ บางทีความรู้สึกเหมือนใจจะขาด ต้องนอนหลับตาตลอด(เพราะลืมตาแล้วมันรู้สึกหมุน) เป็นความรู้สึกที่ทรมานพอสมควร คนไม่เป็นจะไม่ใรู้ โรคนี้เป็นมากในคนสูงอายุ หรือเริ่มแก่ก็ได้ เอ๊าะ ๆ พบน้อย ถ้าเป็นในผู้สูงอายุอาจจะทำให้ล้มแล้วบาดเจ็บซ้ำซ้อนก็ได้ เช่น บาดเจ็บศรีษะ,กระดูกหักข้อเคลื่อนได้ ก่อนอื่นต้องขออธิบายความซักเล็กน้อย ว่าการที่คนเราสามารถทรงตัวได้แบบปรกติ คือ นอน,นั่ง ,ยืน,เดินเหิน หันหน้า กลับหลัง ซ้าย ขวา ได้ก็เพรีาะมี่ระบบประสาทการทรงตัวทำงานปรกติ ซึ่งประกอบด้วย
1. หูชั้นใน โยงไปเซลล์ประสาทในก้านสมอง
2. ระบบประสาทการมองเห็น คือ ดวงตาแล้วส่งไปที่สมองใหญ่ที่ควบคุมการมอง
3. ระบบประสาทที่รับตำแหน่งมาจากข้อต่างๆ แล้วส่งไปสมองเล็ก
ถึงในภาวะปรกติ ระบบเหล่านี้ก็อาจจะทำงานมีขีดจำกัดเหมือนกัน คงจำกันได้สมัยเด็กๆ เวลาเล่นหมุนตัวเร็ว ๆ หรือนั่งม้าหมุน ก็จะทำให้เกิดการหมุน ๆ แต่ตอนนี้ก็เพียงแค่รู้สึกหมุนชักประเดี๋ยว ก็้เมาตาลายแล้ว บางทีเป็นอยู่นานด้วย เป็นชั่วโมง ๆ กว่าจะหายแต่ก็สามารถฝึกฝนให้ทนขึ้นได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น นักบัลเล่ต์,สเก็ตน้ำแข็ง นักยิมนาสติก หมุนหลาย ๆรอบเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่เป็นอะไร
โรคที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ เสียศูนย์ หรือบ้านหมุนนี้ครับคือระบบการทรงตัวของหูชั้นในทำงานผิดปรกติ หรือปรับตัวไม่ทันอาจจะเป็นเองหรือมีการติดเชื้อของหู เชื้อหวัดธรรมดา เข้าไปในปราสาทหู ได้รับสารพิษหรือยาบางชนิด อากาศหนาวจัด ๆ ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่นนอนเช้า ในท่านอนอาจจะมีการปวดหู หูอื้อ หรือมีเสียงในหูร่วมด้วย การอดนอนหรือเครียดจัด ๆไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย จะซ้ำเติมให้อาการเป็นมากขึ้น หรือความทนทานต่อการเรียนลดน้อยลง
นอกจากนั้นก็มีสาเหตุมากจากเลือดไปเลี้ยงระบบปราสาทที่ควบคุมการทรงตัวไม่พอไปชั้วขณะ มักพบในคนสูงอายุ หรือมีโรคอยู่เดิม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง,ไขมันสูง ถ้าเส้นเลือดตีบไปเลย มีเซลล์ปราสาทตายบางส่วนอาจจะมีการเดินเซ,พูดไม่ชัดร่วมด้วย สาเหตุอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น เนื้องอกของเส้นปราสาทหู,เนื้องอกสมองเล็ก กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทำให้เห็นภาพซ้อน
ยาที่มักทำให้เกิดการวิงเวียนหรือบ้านหมุน เช่นที่พบบ่อย ๆ มี
1. ยาปฏิชีวนะประเภทสเตรปโตไมซิน ที่ใช้ฉีดรักษาวัณโรค ปัจจุบันใช้น้อยลงแล้ว
2. ยากันชัก
3. ยาขับปัสสาวะ
4. ยาลดความดันโลหิต
5. ยาลดความอ้วน อาจจะเกิดขณะที่กิน หรือหยุดก็ได้ครับ
การติดเชื้อที่ไต เช่น กรวยไตอักเสบทำให้ เวียนศรีษะ อาเจียนมาร่วมกับมีไข้
จะเห็นได้ว่า สาเหตุของโรคบ้านหมุน(เสียศูนย์) นับว่ามากมายหลากหลาย แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะส่วนใหญ่ ถ้าเป็นไม่มากกินยาหอม ยาดมยาลม นอนพักซักครู่ก็จะหาย ถ้าเป็นมากขึ้น นอน รพ. ให้น้ำเกลือให้หมอรักษาก็จะหายใน 1-2 วัน หรือไม่เกิน7 วัน ถ้ามากกว่านั้น หรือถ้าเป็น ๆหาย ๆ ซึ่งมักเป็นในคนสูงอายุ อาจจะต้องตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด เช่น ตรวจเลือด เอ็กซเรย์สมองหรืออื่น ๆ และต้องรักษาโรคที่เป็นอยู่เดิมควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้นกายภาพบำบัดโดยการฝึกท่านั่ง-นอน จะทำให้ทนทานต่อการหมุนดีขึ้นหรือจนหายขาดได้
ก็อย่างที่บอกละครับ 2-3 ปี หลังนี้ พบอาการป่วยแบบนี้บ่อย ๆ ความเครียดก็คงจะมีส่วนแน่ ๆ ยิ่งนอนไม่หลับด้วยแล้ว แถมมีไมแกรน ปวดหัวพ่วงบ้านหมุนมาอีก ชักจะยุ่งกันไปใหญ่อย่าไปคิดอะไรมากเลยนะครับ
โรคเกี่ยวกับระบบการทรงตัวของร่างกาย คือโรควิงเวียนศรีษะ จากประสบการณ์ที่ดูแลผู้ป่วยมานานพอสมควรพบอาการเป็นโรคนี้ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในระยะ 2-3 ปีหลังนี้นะครับพบเกือบทุกวัน หนักบ้าง เบาบ้าง อาการมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น มึน ๆ วิงเวียน สมองไม่โล่ง เมา ๆ (ทั้งที่ไม่ได้กินเหล้าหรือสุรา) มากจนถึงขั้นมีความรู้สึก “หมุน” อาจจะเป็นตัวหมุนเหวี่ยง,ลอยไปมาหรือรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมเช่น ผนังห้อง บ้านหมุนรอบตัวเรา พื้นเอียงไปมา ถ้าเป็นมากจะเสียการทรงตัว เดินแล้วอาจโซเซหรือล้มมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกความรู้สึกอยากจะปัสสาวะหรืออุจจาระ บางทีความรู้สึกเหมือนใจจะขาด ต้องนอนหลับตาตลอด(เพราะลืมตาแล้วมันรู้สึกหมุน) เป็นความรู้สึกที่ทรมานพอสมควร คนไม่เป็นจะไม่ใรู้ โรคนี้เป็นมากในคนสูงอายุ หรือเริ่มแก่ก็ได้ เอ๊าะ ๆ พบน้อย ถ้าเป็นในผู้สูงอายุอาจจะทำให้ล้มแล้วบาดเจ็บซ้ำซ้อนก็ได้ เช่น บาดเจ็บศรีษะ,กระดูกหักข้อเคลื่อนได้ ก่อนอื่นต้องขออธิบายความซักเล็กน้อย ว่าการที่คนเราสามารถทรงตัวได้แบบปรกติ คือ นอน,นั่ง ,ยืน,เดินเหิน หันหน้า กลับหลัง ซ้าย ขวา ได้ก็เพรีาะมี่ระบบประสาทการทรงตัวทำงานปรกติ ซึ่งประกอบด้วย
1. หูชั้นใน โยงไปเซลล์ประสาทในก้านสมอง
2. ระบบประสาทการมองเห็น คือ ดวงตาแล้วส่งไปที่สมองใหญ่ที่ควบคุมการมอง
3. ระบบประสาทที่รับตำแหน่งมาจากข้อต่างๆ แล้วส่งไปสมองเล็ก
ถึงในภาวะปรกติ ระบบเหล่านี้ก็อาจจะทำงานมีขีดจำกัดเหมือนกัน คงจำกันได้สมัยเด็กๆ เวลาเล่นหมุนตัวเร็ว ๆ หรือนั่งม้าหมุน ก็จะทำให้เกิดการหมุน ๆ แต่ตอนนี้ก็เพียงแค่รู้สึกหมุนชักประเดี๋ยว ก็้เมาตาลายแล้ว บางทีเป็นอยู่นานด้วย เป็นชั่วโมง ๆ กว่าจะหายแต่ก็สามารถฝึกฝนให้ทนขึ้นได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น นักบัลเล่ต์,สเก็ตน้ำแข็ง นักยิมนาสติก หมุนหลาย ๆรอบเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่เป็นอะไร
โรคที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ เสียศูนย์ หรือบ้านหมุนนี้ครับคือระบบการทรงตัวของหูชั้นในทำงานผิดปรกติ หรือปรับตัวไม่ทันอาจจะเป็นเองหรือมีการติดเชื้อของหู เชื้อหวัดธรรมดา เข้าไปในปราสาทหู ได้รับสารพิษหรือยาบางชนิด อากาศหนาวจัด ๆ ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่นนอนเช้า ในท่านอนอาจจะมีการปวดหู หูอื้อ หรือมีเสียงในหูร่วมด้วย การอดนอนหรือเครียดจัด ๆไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย จะซ้ำเติมให้อาการเป็นมากขึ้น หรือความทนทานต่อการเรียนลดน้อยลง
นอกจากนั้นก็มีสาเหตุมากจากเลือดไปเลี้ยงระบบปราสาทที่ควบคุมการทรงตัวไม่พอไปชั้วขณะ มักพบในคนสูงอายุ หรือมีโรคอยู่เดิม เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง,ไขมันสูง ถ้าเส้นเลือดตีบไปเลย มีเซลล์ปราสาทตายบางส่วนอาจจะมีการเดินเซ,พูดไม่ชัดร่วมด้วย สาเหตุอื่น ๆ ที่พบไม่บ่อย เช่น เนื้องอกของเส้นปราสาทหู,เนื้องอกสมองเล็ก กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทำให้เห็นภาพซ้อน
ยาที่มักทำให้เกิดการวิงเวียนหรือบ้านหมุน เช่นที่พบบ่อย ๆ มี
1. ยาปฏิชีวนะประเภทสเตรปโตไมซิน ที่ใช้ฉีดรักษาวัณโรค ปัจจุบันใช้น้อยลงแล้ว
2. ยากันชัก
3. ยาขับปัสสาวะ
4. ยาลดความดันโลหิต
5. ยาลดความอ้วน อาจจะเกิดขณะที่กิน หรือหยุดก็ได้ครับ
การติดเชื้อที่ไต เช่น กรวยไตอักเสบทำให้ เวียนศรีษะ อาเจียนมาร่วมกับมีไข้
จะเห็นได้ว่า สาเหตุของโรคบ้านหมุน(เสียศูนย์) นับว่ามากมายหลากหลาย แต่ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะส่วนใหญ่ ถ้าเป็นไม่มากกินยาหอม ยาดมยาลม นอนพักซักครู่ก็จะหาย ถ้าเป็นมากขึ้น นอน รพ. ให้น้ำเกลือให้หมอรักษาก็จะหายใน 1-2 วัน หรือไม่เกิน7 วัน ถ้ามากกว่านั้น หรือถ้าเป็น ๆหาย ๆ ซึ่งมักเป็นในคนสูงอายุ อาจจะต้องตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด เช่น ตรวจเลือด เอ็กซเรย์สมองหรืออื่น ๆ และต้องรักษาโรคที่เป็นอยู่เดิมควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้นกายภาพบำบัดโดยการฝึกท่านั่ง-นอน จะทำให้ทนทานต่อการหมุนดีขึ้นหรือจนหายขาดได้
ก็อย่างที่บอกละครับ 2-3 ปี หลังนี้ พบอาการป่วยแบบนี้บ่อย ๆ ความเครียดก็คงจะมีส่วนแน่ ๆ ยิ่งนอนไม่หลับด้วยแล้ว แถมมีไมแกรน ปวดหัวพ่วงบ้านหมุนมาอีก ชักจะยุ่งกันไปใหญ่อย่าไปคิดอะไรมากเลยนะครับ
โรคลมชัก
โดย หมอเชวง
โรคลมชัก คือ โรคที่มีอาการชัก,เกร็ง,กระตุกส่วนใดส่วนหนึ่งหรืออาจจะทั้งหมดทุกส่วนของร่างกายเลยก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีอาการหมดสติ กัดฟัน,กัดลิ้น, ร่วมด้วยถ้ารุนแรงๆไม่ยากใช้คำว่าลมบ้าหมู เพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิด เช่น กินหมูแล้วชัก ซึ่งไม่เกี่ยวกัน หรือในคนที่เกลียดหมูเขาอาจจะทำให้เข้าใจกันผิด เขาอาจเคืองเอาก็ได้ (อาจจะต้องบอกว่าเป็นลมบ้าไก่,บ้าเป็ด,แทน) คนเราปกติ อนุญาตให้ชักได้ 1 ครั้ง เช่น อดนอนจัดๆ เครียดมาก ๆ ดื่มหนักๆ ถ้าชักมากกว่า 1 ครั้ง ต้องหาสาเหตุ เช่น ในเด็กอาจจะเกิดจาก ไข้ ความพิการทางสมอง ในผู้ใหญ่ต้องหาว่าอาจจะมีไข่พยาธิตัวตืดขึ้นสมอง เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดสมองโป่งหรือตีบ เป็นต้น
โรคลมชัก จะมีอันตรายช่วงที่ชักมาก ๆ เช่นกัดลิ้นตัวเอง ล้มแล้วบาดเจ็บ หรือถ้ามีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคหัวใจ อาจจะหัวใจวายต่อได้ ช่วงที่ชัก ถ้าอยู่บ้านต้องหาอะไรรองฟันไม่ให้กัดลิ้น เช่นยาง ผ้าผืนเล็ก ๆ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้ด้ามช้อน ถอดฟันปลอม(ถ้ามี) อย่าพยายามเอานิ้วมือเราไปแหยไว้ก่อน นิ้วอาจจะขาดได้ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ก็จะทำการช่วยเหลือเบื้องต้น หาสาเหตุ และการรักษาอาการแทรกซ้อน (ถ้ามี)
การให้ยากันชัก ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน ก็จะให้ยากันชักกินประมาณ 3-5 ปี ในช่วงการรักษานี้ คนไข้ต้องพยายามกินยาให้สม่ำเสมอ ไม่ควรที่จะอดนอน เครียดหรือดิ่มเหล้า ไม่ขาดยาเองเพราะจะทำให้ชักรุนแรง ถ้าหากมีสาเหตุก็รักษาไปตานนั้นเช่น ให้ยาฆ่าไข่พยาธิตัวตืด รวมไปด้วย
โรคลมชัก คือ โรคที่มีอาการชัก,เกร็ง,กระตุกส่วนใดส่วนหนึ่งหรืออาจจะทั้งหมดทุกส่วนของร่างกายเลยก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีอาการหมดสติ กัดฟัน,กัดลิ้น, ร่วมด้วยถ้ารุนแรงๆไม่ยากใช้คำว่าลมบ้าหมู เพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิด เช่น กินหมูแล้วชัก ซึ่งไม่เกี่ยวกัน หรือในคนที่เกลียดหมูเขาอาจจะทำให้เข้าใจกันผิด เขาอาจเคืองเอาก็ได้ (อาจจะต้องบอกว่าเป็นลมบ้าไก่,บ้าเป็ด,แทน) คนเราปกติ อนุญาตให้ชักได้ 1 ครั้ง เช่น อดนอนจัดๆ เครียดมาก ๆ ดื่มหนักๆ ถ้าชักมากกว่า 1 ครั้ง ต้องหาสาเหตุ เช่น ในเด็กอาจจะเกิดจาก ไข้ ความพิการทางสมอง ในผู้ใหญ่ต้องหาว่าอาจจะมีไข่พยาธิตัวตืดขึ้นสมอง เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดสมองโป่งหรือตีบ เป็นต้น
โรคลมชัก จะมีอันตรายช่วงที่ชักมาก ๆ เช่นกัดลิ้นตัวเอง ล้มแล้วบาดเจ็บ หรือถ้ามีโรคประจำตัวอื่น เช่น โรคหัวใจ อาจจะหัวใจวายต่อได้ ช่วงที่ชัก ถ้าอยู่บ้านต้องหาอะไรรองฟันไม่ให้กัดลิ้น เช่นยาง ผ้าผืนเล็ก ๆ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้ด้ามช้อน ถอดฟันปลอม(ถ้ามี) อย่าพยายามเอานิ้วมือเราไปแหยไว้ก่อน นิ้วอาจจะขาดได้ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ก็จะทำการช่วยเหลือเบื้องต้น หาสาเหตุ และการรักษาอาการแทรกซ้อน (ถ้ามี)
การให้ยากันชัก ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน ก็จะให้ยากันชักกินประมาณ 3-5 ปี ในช่วงการรักษานี้ คนไข้ต้องพยายามกินยาให้สม่ำเสมอ ไม่ควรที่จะอดนอน เครียดหรือดิ่มเหล้า ไม่ขาดยาเองเพราะจะทำให้ชักรุนแรง ถ้าหากมีสาเหตุก็รักษาไปตานนั้นเช่น ให้ยาฆ่าไข่พยาธิตัวตืด รวมไปด้วย
ไตวายเรื้อรัง
โดย หมอ “เวง”
เห็นชื่อเรื่องแล้วอย่าเพิ่งงงนะครับ ฟังผมคุยไปเรื่อย ๆแล้วจะเข้าใจ ช่วง2-3 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองลาวบ่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไปปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ ก็ไปเยียมเยื่อนคนไข้ซึ่งเป็นลูกค้าของรพ.เป็นหลัก และถือโอกาสไปเที่ยวด้วย ใคร่ๆที่ชอบธรรมชาติ(ที่บริสุทธิ์) ชอบความเป็นอยู่แบบเดิมๆ แล้วมักจะชอบไปเที่ยวเมืองลาว เหมือนเรากลับไปหาอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน เลย ทำให้มักคุ้นกับผู้คนแถบนี้อยู่พอสมควร ลาวกับไทยสมเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันจริง ๆ นะครับ คือพูดง่าย ๆ คุยกันรู้เรื่อง ไม่ต้องพูดภาษาอื่น และที่ชอบอีกอย่างคือ ภาษาพูดเค้าจะใช้คำง่าย ๆ เช่น โรงพยาบาล เค้าเรียก “โฮงหมอ” ห้องฉุกเฉิน เรียก”ห้องฟ้าว” ห้องผ่าตัดเรียกั”ห้องปาด,ห” ห้องคลอดเรียก”ห้องประสูติ” เป็นต้น ส่วนบักไข่หลังที่จั่วหัวไว้ หมายถึง ไตนั่นเอง
บักไข่หลังเสื่อมคือ โรคไตวาย เหตุผลที่เรียก “ไข่หลัง” น่าจะเป็นจาก(ผมเดาเองนะครับ) รูปร่างของไตเหมือนไข่(ความจริงเหมือนเมล็ดถั่ว) อยู่ที่หลัง(บั้นเอว) 2 ข้าง (ข้างละอัน) หรือจะแปลอีกอย่าง คือ ไข่ที่อยู่ข้างหลัง โดยเหตุผลสนับสนุนว่า ไข่คู่อันข้างหน้าก็คือลูกอัณฑะ (รึเปล่า)
โรคไต มีหลายประเภทนะครับบางอย่างเป็นแล้วรักษาหายขาดปกติโรคบางอย่างรุนแรง มีการทำลายไตไปมากๆ ก็ทำหน้าที่ไตลดน้อยลงมากๆ ร่างกายก็เริ่มแย่ จากภาวะไตพร่องกลายเป็นโรคไตวาย ซึ่งผมพูดถึงเฉพาะ ไตวายเรื้อรัง ซึ่งรักษาไม่ค่อยหายขาดและการรักษาค่อนข้างซับซ้อนก่อนอื่นเรามาดูที่ไตก่อนนะครับ ไตมีหน้าที่หลายอย่าง หน้าที่หลักที่ทราบกันทั่วไป คือ ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ที่เราเห็นกันทุกวัน ๆ คือปัสสาวะนั่นแหละครับปัสสาวะมาตั้งเยอะ 50-60 ปีมาแล้วไม่มีปัญหา ไม่ปัสสาวะซัก 2 วัน จะเป็นอะไรไปเกิดเรื่องแน่นอนครับ ในการดำรงชีวิตของทุกๆ วันซึ่งต้องกินอาหารเข้าไปเพื่อย่อยสลายเป็นพลังงานให้มีชีวิตอยู่(ใช้หนี้ IMF) ก็ต้องมีของเสียเกิดขึ้น ของเสียบางส่วนเปลี่ยนเป็นรูปกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางปอดและหายใจออกไป ของเสียที่ไม่สามารถสลายเป็นก๊าซได้ เช่น อาหารที่สลายจากโปรตีน และกรดด่าง จะขับออกทางไต ฉะนั้นต้องออกทุกวัน เปรียบง่าย ๆ กับท่อน้ำเสีย ถ้าเกิดการอุดตัน บ้านาท่านคงเจิ่งนองไปด้วยน้ำเสีย สิ่งปฎิกูลต่าง ๆ (เห็นภาพพจน์นะครับ) หน้าที่ไตอื่น ๆเห่นการรักษาดุลย์ กรดด่าง, เกลือแร่ในร่างกายและสร้างฮอร์โมน กระตุ้นการสร้างเม็ดโลหิตแดง ไม่ให้โลหิตจาง
สาเหตุของไตวายเรื้อรัง มีหลายอย่าง ที่พบบ่อย ๆคือ ไตอักเสบเช่นจากโรค SLE (ลูปุส),นิ่วกไต,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,เก๊าท์ที่ควบคุมไม่ดี,ยาแก้ปวดบางตัว ฯลฯ ภาวะที่ว่านี้ทำให้หน้าที่ไตเสื่อมลงเรื่อย ๆ พอลดลงถึงระดับหนึ่ง (มากกว่า 50 %) อาการไตวายก็ตจะเริ่มปรากฎ แรก ๆ จะไม่มีอาการใด ๆ อาการเริ่มต้นตั้งแต่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียน ซีด ๆ บวม ๆ ตามหน้า,ขา: ปัสสาวะจะผิดปกติ ไตวายบางชนิดปัสสาวะปกติ บางชนิดจะปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นหรือสูงมากกว่าเดิม อาการปวดหลังที่ ชาวบ้านชอบกลัวว่าจะเป็นโรคไต จะพบในกรณีโรคไตวายที่เกิดจากโรคนิ่วเท่านั้น จึงสรุปว่า อาการปวดหลังอาจจะเป็นโรคไตหรือโรคอื่น ก็ได้และโรคไตวายเองก็อาจจะไม่ปวดหลังเลยก็ได้ถ้าโรคเป็นหนักเข้าก็จะหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำเกิน,ปอดชื้น,ไอ,นอนราบไม่ได้,คลื่นไส้อาเจียน,บวมมาก. สุดท้ายหัวใจจะล้มเหลว น้ำท่วมปอดมาก หายใจเป็นฟอง อาจมีเลือดปน เกลือแร่บางตัวอาจสูงมากเช่น โปแตสเซียม ทำให้ถึงแก่กรรมได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที
การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ประกอบด้วย รักษาภาวะวิกฤติซึ่งจะทำให้คนไข้เสียชีวิตก่อน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะชัก,ภาวะโปแตสเซียมเกิน เมื่อภาวะดังกล่าวบรรเทาแล้วต้องหาสาเหตุ และแก้ไข เช่น ผ่าเอานิ่วออก ,ควบคุมเบาหวาน, ความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ,รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้ารักษาโรคอันเป็นสาเหตุแล้ว หน้าที่ไตก็จะกลับฟื้นมาบางส่วน ถ้าหน้าที่ไตไม่กระเตื้องขึ้น จากการรักษาดังกล่าว วิธีการต่อไปมี 2แบบใหญ่ ๆ คือ
1. รักษาประคับประคอง โดยการควบคุมอาหาร ควรลดอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ขาว,ไปเน้นทางแป้ง,ไขมัน แทน ลดอาหารเค็ม ถ้าปัสสาวะน้อยควรลดปริมาณน้ำดื่มต่อวันด้วย,การใช้ยาหลายชนิด รวมถึงฮอร์โมนเพิ่มเลือดด้วย,และร่วมการฟอกไต(ล้างไต) ด้วยเครื่องไตเทียม ต้องยอมรับว่าการรักษาดังกล่าวมานี้ต้องทำไปตลอดชีวิต การฟอกไตก็คือการใช้เครื่องไตเทียมทำงานแทนไต โดยเอาเลือดจากตัวผ๔ป่วยเข้าเครื่องดูดของเสีย,น้ำส่วนเกินออกไป เสร็จแล้วก็ส่งเลือดกลับคืนสู่ตัวผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน
2. การเปลี่ยนไต เป็นการรักษาที่ดีที่สุดเพราะจะทำให้โรคหายขาดเป็นปกติ (แต่) ปัจจุบัน ถึงแม้การแพทย์จะก้าวหน้ามาก การเปลี่ยนไต ก็ยังอาจมีปัญหาได้ ถ้าร่างการผู้ป่วยไม่ี่รับไตใหม่ ขั้นตอนที่สำคัญคือการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อรับการเปลี่ยนไตให้เหมาะสมคือ ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายจะสามารถเปลี่ยนไตได้หมด
คุยกันพอสังเขปนะครับมากไปเดี๋ยวเครียดกันเปล่า ๆ โรคทุกโรคก็เหมือนกันละครับ ถ้ารู้เร็วก็ดีไป รู้ช้า ๆ บางทีก็ลำบาก โรคบางอย่างก็ไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นมากนะครับ ต้องอาศัยการตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงจะรู้ ก็ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพกายใจอันสมบูรณ์เข้มแข็งกันตลอด
เห็นชื่อเรื่องแล้วอย่าเพิ่งงงนะครับ ฟังผมคุยไปเรื่อย ๆแล้วจะเข้าใจ ช่วง2-3 ปีก่อน ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองลาวบ่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะไปปากเซ แขวงจำปาศักดิ์ ก็ไปเยียมเยื่อนคนไข้ซึ่งเป็นลูกค้าของรพ.เป็นหลัก และถือโอกาสไปเที่ยวด้วย ใคร่ๆที่ชอบธรรมชาติ(ที่บริสุทธิ์) ชอบความเป็นอยู่แบบเดิมๆ แล้วมักจะชอบไปเที่ยวเมืองลาว เหมือนเรากลับไปหาอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน เลย ทำให้มักคุ้นกับผู้คนแถบนี้อยู่พอสมควร ลาวกับไทยสมเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันจริง ๆ นะครับ คือพูดง่าย ๆ คุยกันรู้เรื่อง ไม่ต้องพูดภาษาอื่น และที่ชอบอีกอย่างคือ ภาษาพูดเค้าจะใช้คำง่าย ๆ เช่น โรงพยาบาล เค้าเรียก “โฮงหมอ” ห้องฉุกเฉิน เรียก”ห้องฟ้าว” ห้องผ่าตัดเรียกั”ห้องปาด,ห” ห้องคลอดเรียก”ห้องประสูติ” เป็นต้น ส่วนบักไข่หลังที่จั่วหัวไว้ หมายถึง ไตนั่นเอง
บักไข่หลังเสื่อมคือ โรคไตวาย เหตุผลที่เรียก “ไข่หลัง” น่าจะเป็นจาก(ผมเดาเองนะครับ) รูปร่างของไตเหมือนไข่(ความจริงเหมือนเมล็ดถั่ว) อยู่ที่หลัง(บั้นเอว) 2 ข้าง (ข้างละอัน) หรือจะแปลอีกอย่าง คือ ไข่ที่อยู่ข้างหลัง โดยเหตุผลสนับสนุนว่า ไข่คู่อันข้างหน้าก็คือลูกอัณฑะ (รึเปล่า)
โรคไต มีหลายประเภทนะครับบางอย่างเป็นแล้วรักษาหายขาดปกติโรคบางอย่างรุนแรง มีการทำลายไตไปมากๆ ก็ทำหน้าที่ไตลดน้อยลงมากๆ ร่างกายก็เริ่มแย่ จากภาวะไตพร่องกลายเป็นโรคไตวาย ซึ่งผมพูดถึงเฉพาะ ไตวายเรื้อรัง ซึ่งรักษาไม่ค่อยหายขาดและการรักษาค่อนข้างซับซ้อนก่อนอื่นเรามาดูที่ไตก่อนนะครับ ไตมีหน้าที่หลายอย่าง หน้าที่หลักที่ทราบกันทั่วไป คือ ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ที่เราเห็นกันทุกวัน ๆ คือปัสสาวะนั่นแหละครับปัสสาวะมาตั้งเยอะ 50-60 ปีมาแล้วไม่มีปัญหา ไม่ปัสสาวะซัก 2 วัน จะเป็นอะไรไปเกิดเรื่องแน่นอนครับ ในการดำรงชีวิตของทุกๆ วันซึ่งต้องกินอาหารเข้าไปเพื่อย่อยสลายเป็นพลังงานให้มีชีวิตอยู่(ใช้หนี้ IMF) ก็ต้องมีของเสียเกิดขึ้น ของเสียบางส่วนเปลี่ยนเป็นรูปกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางปอดและหายใจออกไป ของเสียที่ไม่สามารถสลายเป็นก๊าซได้ เช่น อาหารที่สลายจากโปรตีน และกรดด่าง จะขับออกทางไต ฉะนั้นต้องออกทุกวัน เปรียบง่าย ๆ กับท่อน้ำเสีย ถ้าเกิดการอุดตัน บ้านาท่านคงเจิ่งนองไปด้วยน้ำเสีย สิ่งปฎิกูลต่าง ๆ (เห็นภาพพจน์นะครับ) หน้าที่ไตอื่น ๆเห่นการรักษาดุลย์ กรดด่าง, เกลือแร่ในร่างกายและสร้างฮอร์โมน กระตุ้นการสร้างเม็ดโลหิตแดง ไม่ให้โลหิตจาง
สาเหตุของไตวายเรื้อรัง มีหลายอย่าง ที่พบบ่อย ๆคือ ไตอักเสบเช่นจากโรค SLE (ลูปุส),นิ่วกไต,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,เก๊าท์ที่ควบคุมไม่ดี,ยาแก้ปวดบางตัว ฯลฯ ภาวะที่ว่านี้ทำให้หน้าที่ไตเสื่อมลงเรื่อย ๆ พอลดลงถึงระดับหนึ่ง (มากกว่า 50 %) อาการไตวายก็ตจะเริ่มปรากฎ แรก ๆ จะไม่มีอาการใด ๆ อาการเริ่มต้นตั้งแต่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียน ซีด ๆ บวม ๆ ตามหน้า,ขา: ปัสสาวะจะผิดปกติ ไตวายบางชนิดปัสสาวะปกติ บางชนิดจะปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นหรือสูงมากกว่าเดิม อาการปวดหลังที่ ชาวบ้านชอบกลัวว่าจะเป็นโรคไต จะพบในกรณีโรคไตวายที่เกิดจากโรคนิ่วเท่านั้น จึงสรุปว่า อาการปวดหลังอาจจะเป็นโรคไตหรือโรคอื่น ก็ได้และโรคไตวายเองก็อาจจะไม่ปวดหลังเลยก็ได้ถ้าโรคเป็นหนักเข้าก็จะหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำเกิน,ปอดชื้น,ไอ,นอนราบไม่ได้,คลื่นไส้อาเจียน,บวมมาก. สุดท้ายหัวใจจะล้มเหลว น้ำท่วมปอดมาก หายใจเป็นฟอง อาจมีเลือดปน เกลือแร่บางตัวอาจสูงมากเช่น โปแตสเซียม ทำให้ถึงแก่กรรมได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที
การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ประกอบด้วย รักษาภาวะวิกฤติซึ่งจะทำให้คนไข้เสียชีวิตก่อน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะชัก,ภาวะโปแตสเซียมเกิน เมื่อภาวะดังกล่าวบรรเทาแล้วต้องหาสาเหตุ และแก้ไข เช่น ผ่าเอานิ่วออก ,ควบคุมเบาหวาน, ความดันโลหิตให้ใกล้เคียงปกติ,รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้ารักษาโรคอันเป็นสาเหตุแล้ว หน้าที่ไตก็จะกลับฟื้นมาบางส่วน ถ้าหน้าที่ไตไม่กระเตื้องขึ้น จากการรักษาดังกล่าว วิธีการต่อไปมี 2แบบใหญ่ ๆ คือ
1. รักษาประคับประคอง โดยการควบคุมอาหาร ควรลดอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ขาว,ไปเน้นทางแป้ง,ไขมัน แทน ลดอาหารเค็ม ถ้าปัสสาวะน้อยควรลดปริมาณน้ำดื่มต่อวันด้วย,การใช้ยาหลายชนิด รวมถึงฮอร์โมนเพิ่มเลือดด้วย,และร่วมการฟอกไต(ล้างไต) ด้วยเครื่องไตเทียม ต้องยอมรับว่าการรักษาดังกล่าวมานี้ต้องทำไปตลอดชีวิต การฟอกไตก็คือการใช้เครื่องไตเทียมทำงานแทนไต โดยเอาเลือดจากตัวผ๔ป่วยเข้าเครื่องดูดของเสีย,น้ำส่วนเกินออกไป เสร็จแล้วก็ส่งเลือดกลับคืนสู่ตัวผู้ป่วยในเวลาเดียวกัน
2. การเปลี่ยนไต เป็นการรักษาที่ดีที่สุดเพราะจะทำให้โรคหายขาดเป็นปกติ (แต่) ปัจจุบัน ถึงแม้การแพทย์จะก้าวหน้ามาก การเปลี่ยนไต ก็ยังอาจมีปัญหาได้ ถ้าร่างการผู้ป่วยไม่ี่รับไตใหม่ ขั้นตอนที่สำคัญคือการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อรับการเปลี่ยนไตให้เหมาะสมคือ ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายจะสามารถเปลี่ยนไตได้หมด
คุยกันพอสังเขปนะครับมากไปเดี๋ยวเครียดกันเปล่า ๆ โรคทุกโรคก็เหมือนกันละครับ ถ้ารู้เร็วก็ดีไป รู้ช้า ๆ บางทีก็ลำบาก โรคบางอย่างก็ไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นมากนะครับ ต้องอาศัยการตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงจะรู้ ก็ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพกายใจอันสมบูรณ์เข้มแข็งกันตลอด
ไขมันในเลือดสูง
ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนขึ้น ทำให้พบโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ได้มากขึ้น โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคอัมพาต โรคดังกล่าวมีสาเหตุจากการที่หลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis)และหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งพบได้เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำใหเกิดหลอดเลือดแข็งตัว เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะถ้าเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพาตในวัยชราได้อย่างมาก โดยทั่วไปการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. โคเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นส่วนสำคัญของไขมันควคามหนาแน่นต่ำ โคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง และรับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป โคเลสเตอรอลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และตีบตัน สารโคเลสเตอรอลนี้จะมีมากในไขมันสัตว์ระดับปรกติในโลหิต ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. และถ้าพบว่า สูงมากกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. ควรควบคุมและะรักษา จากการศึกษา พบว่า ถ้าลดระดับโคเลสเตอรอลลงได้ 1% จะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลดลงถึง 2%
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันชนิดนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่รับประททนเข้าไป และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ในร่างกาย ในคนอ้วนระดับไตรกลีเซิร์ไรด์ มักจะสูงได้บ่อย ๆ ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ไขมันตัวนี้เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ถ้าพบว่ามีระดับสูงมากหรือพบว่าสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูง เชื่อว่า โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเพิ่มขึ้นจึงควรรักษา
3. เอชดีแอล (High Density Lipoprotain ; HDL)
เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง มีหน้าที่จับไขมัน โคเลสเตอรอล ในกระแสเลือดออกไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL นี้สูง จะมีผลทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดลงโดยเฉพาะถ้าระดับ HDL สูงเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ ลบ.ซม. HDL จะสูงจากการออกกำลังกายและะจากยาลดไขมันบางชนิด
เมื่อท่านตรวจพบไขมันในเลือดสูง โดยระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อ ลบ ซ
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำใหเกิดหลอดเลือดแข็งตัว เราสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะถ้าเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพาตในวัยชราได้อย่างมาก โดยทั่วไปการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. โคเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นส่วนสำคัญของไขมันควคามหนาแน่นต่ำ โคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง และรับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป โคเลสเตอรอลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัว และตีบตัน สารโคเลสเตอรอลนี้จะมีมากในไขมันสัตว์ระดับปรกติในโลหิต ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. และถ้าพบว่า สูงมากกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อ 100 ลบ.ซม. ควรควบคุมและะรักษา จากการศึกษา พบว่า ถ้าลดระดับโคเลสเตอรอลลงได้ 1% จะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลดลงถึง 2%
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันชนิดนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่รับประททนเข้าไป และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ในร่างกาย ในคนอ้วนระดับไตรกลีเซิร์ไรด์ มักจะสูงได้บ่อย ๆ ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า ไขมันตัวนี้เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ถ้าพบว่ามีระดับสูงมากหรือพบว่าสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูง เชื่อว่า โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเพิ่มขึ้นจึงควรรักษา
3. เอชดีแอล (High Density Lipoprotain ; HDL)
เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง มีหน้าที่จับไขมัน โคเลสเตอรอล ในกระแสเลือดออกไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL นี้สูง จะมีผลทำให้โอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดลงโดยเฉพาะถ้าระดับ HDL สูงเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ ลบ.ซม. HDL จะสูงจากการออกกำลังกายและะจากยาลดไขมันบางชนิด
เมื่อท่านตรวจพบไขมันในเลือดสูง โดยระดับโคเลสเตอรอลสูงกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อ ลบ ซ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)