วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ย่อ กฏหมายอาญา บทบัญญัติทั่วไป

ย่อหลักกฎหมายเพื่อความคล่องตัว
1. ขาดองค์ประกอบความผิด – ไม่มีความผิด
2. ไม่รู้ข้อเท็จจริง – ไม่มีความผิด (มาตรา 59 วรรคสาม)
3. สำคัญผิดในข้อเท็จจริง – แล้วแต่กรณี (มาตรา 62) มีเหตุเป็นคุณ ประการ คือ
1) เหตุยกเว้นความผิด – ไม่มีความผิด เข่น ป้องกันตาม มาตรา 68 ฯลฯ
2) เหตุยกเว้นโทษ – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เช่น จำเป็นตาม มาตรา 67 ฯลฯ
3) เหตุลดหย่อนโทษ – มีความผิดแต่ศาลจะลงน้อยเพียงใดก็ได้ เช่น บันดาลโทสะ ตาม มาตรา 72
ฯลฯ
4. สำคัญผิดในตัวบุคคล – แก้ตัวไม่ได้ (มาตรา 61)
5. ไม่รู้กฎหมาย – แก้ตัวไม่ได้ (มาตรา 64)
6. คนวิกลจริต – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา65)
-
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 65 วรรคสอง)
7. ความมึนเมา – แก้ตัวไม่ได้ เว้นแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา
หรือถูกขืนใจให้เสพและได้กระทำในขณ ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 65 วรรคสอง)
7. ความมึนเมา – แก้ตัวไม่ได้ เว้นแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำให้มึนเมา
หรือถูกขืนใจให้เสพและได้กระทำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (มาตรา 66)
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 66 ตอนท้าย)
8. จำเป็น – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 67)
9. ป้องกัน – ไม่มีความผิด (มาตรา 6ะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (มาตรา 66)
ถ้ารู้ผิดชอบอยู่บ้าง – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 66 ตอนท้าย)
8. จำเป็น – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 67)
9. ป้องกัน – ไม่มีความผิด (มาตรา 6
10. เกินกว่าเหตุ – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 69)
ถ้าเกิดจากความตื่นเต้นตกใจกลัว – ศาลจะไม่ลงก็ได้ (มาตรา 69ตอนท้าย)




11. กระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงาน มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าเป็นคำสั่งโดยมิชอบ
(มาตรา 70)

12. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภริยา – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 71 วรรคแรก)
13. บันดาลโทสะ – ศาลลงน้อยเพียงใดก็ได้ (มาตรา 72)
14. เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี – มีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 73)
15. เด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี  ให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก (มาตรา 74)
16.เด็กอายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี – ให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก หรือลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง (มาตรา 75)
17. เหตุบรรเทาโทษ – ศาลลดโทษที่จะลงไม่เกินกึ่งหนึ่ง (มาตรา 7
18. โทษปรับสถานเดียว – ชำระค่าปรับในอัตราสูงสุด ก่อนศาลเริ่มต้นสืบพยานคดีระงับ (มาตรา 79)
19. พยายาม – ระวางโทษ ใน ของระวางโทษ) (มาตรา 80)
20. พยายามที่เป็นไปไม่ได้โดยแน่แท้ – ระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง (มาตรา 81)
ถ้าหลงเชื่ออย่างงมงาย – ศาลจะไม่ลงก็ได้ (มาตรา 81 วรรคแรก)
21. ไม่ต้องรับโทษฐานพยายามแต่รับตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด (มาตรา 82)
22. ตัวการ – ตัดสินใจร่วมกันและอยู่ในสถานที่เดียวกัน พร้อมที่จะช่วยเหลือกันได้ (มาตรา 83)
23. ผู้ใช้ – ทำให้ผู้อื่นตัดสินใจรับโทษเสมือนตัวการ (มาตรา 84)
ถ้าความผิดมิได้กระทำลง – ต้องระวางโทษ ใน 3 (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น) (มาตรา
84 วรรคสอง)
24. ผู้โฆษณา – ประกาศ ความผิดไม่ต่ำกว่า เดือน แต่ความผิดมิได้กระทำลง –ระวางโทษกึ่งหนึ่ง (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น) (มาตรา 85)
ถ้าได้มีการกระทำความผิดแล้ว – รับโทษเสมือนตัวการ (มาตรา 85 วรรคสอง)
25. ผู้สนับสนุน – เขาตัดสินใจก่อนแล้วเราจึงมาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อน
หรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษ ใน 3 (ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุน (มาตรา 86)
26. ผู้ใช้ – ผู้โฆษณา – ประกาศ หรือผู้สนับสนุนเข้าขัดขวางมิให้บรรลุผล
27. ผู้ใช้ – ผู้โฆษณา ประกาศ หรือผู้สนับสนุนเข้าขัดขวางมิให้บรรลุผล
ผู้ใช้ รับเพียง 1 ใน 3 มาตรา 84 วรรคสอง
ผู้โฆษณา – ประกาศ – รับผิดเพียงกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 85 วรรคแรก
ผู้สนับสนุน – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 88)
28. เหตุส่วนตัว เหตุในลักษณะคดี – มาตรา 89
29. กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ลงบทหนักสุด (มาตรา90)
30. ต่างกรรมต่างวาระ – ลงโทษเรียงกระทงความผิด (มาตรา 91)
31. หลักเกณฑ์กรรมเดียว
1) กระทำครั้งเดียว เจตนาเดียว หรือ
2) กระทำหลายครั้งแต่มี เจตนาเดียว (แยกเจตนามิได้) (มาตรา 90)
32. หลักเกณฑ์ต่างกรรม – แยกเจตนา (มีหลายเจตนา แม้ในวาระเดียวกัน) (มาตรา 91)
33. การเพิ่มโทษธรรมดา – เพิ่ม ใน ของโทษ ของโทษที่ศาลกำหนด (เพิ่มโทษที่จะลง) (มาตรา92)
หลักเกณฑ์ – กระทำผิดอีกในระหว่างรับโทษ หรืภายใน ปี นับแต่วันพ้นโทษ (มาตรา 92)
34. การเพิ่มโทษหนัก – เพิ่มกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนด (เพิ่มโทษที่จะลง) (มาตรา 93)
หลักเกณฑ์
1) กระทำผิดซ้ำอนุมาตราเดียวกันอีกในระหว่างรับโทษ หรือภายใน ปีนับแต่วันพ้นโทษ
2) ความผิดครั้งแรกศาลพิพากษาจำคุกไม่น้อยกว่า เดือน และ
3) ศาลพิพากษาครั้งหลังถึงจำคุก (เท่าไหร่ก็ได้)(มาตรา 93)
4) ศาลผิดฐานประมาทลหุโทษ หรืออายุไม่เกิน 17 ปี ไม่ว่าครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่นับ (มาตรา 94)
35. อายุความฟ้องร้อง – มาตรา 95 นับแต่วันกระทำความผิด
36. อายุความฟ้องร้องในความผิดอันยอมความได้ – ต้องร้องทุกข์ภายใน เดือน นับแต่รู้เรื่องรู้ตัว (มาตรา 96)
37. อายุความบังคับคดี – มาตรา 98 นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด หรือ หลบหนี
38. ความผิดลหุโทษ – ความผิดที่ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นว่ามานี้ด้วยกัน (ดูที่ระวางโทษมิใช่ดูโทษที่จะลง) (มาตรา 102)
39. พยายามลหุโทษ – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 105)
40 สนับสนุนลหุโทษ – ไม่ต้องรับโทษ (มาตรา 106)
(จบสรุปย่อ วิธีไล่สายกฎหมายอาญา เล่ม 1 (มาตรา 1 – 106)








ป.อาญา มาตรา95 อายุความ

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมา ยังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ 

(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอด ชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี 

(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยัง ไม่ถึงยี่สิบปี 

(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี 

(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี 

(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น 

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิด หลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้ว นับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความ เช่นเดียวกัน