วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักทรัพย์ ที่ใช้ประกันตัว

เงินสด, โฉนดที่ดิน, นส3,พันธบัตร,ตำแหน่งข้าราชการ

การแจ้งความร้องทุกข์ คดีฉ้อโกง


 การ กระทำความผิดอาญาโดยทั่วไปผู้เสียหายจะต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจดำเนินคดีให้ผู้เสียหายได้ หลักเกณฑ์การร้องทุกข์หรือที่เราเรียกกันว่าง่าย ๆ ว่า "การแจ้งความ" นั้น คือ การที่ผู้เสียหายกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นไม่ว่า จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้วามผิด เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็สามารถดำเนินการได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ร้องทุกข์ ก็ตาม

โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ แต่ ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่น คดีขัดต่อศีลธรรมอันดี ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย เช่น คดีฆ่าคนตาย ลักทรัพย์ คดีรุมโทรม หรือข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เหล่านี้ หากพบการกระทำคสรุป
-ถ้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเอง ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำ ความผิด หมายความว่าถ้าผู้เสียหายร้องทุกข์ไว้ภายใน 3 เดือน คดีก็สามารถดำเนินต่อไปได้ และต่อมา ถ้าผู้เสียหาย จะฟ้องคดีเองอีกก็ได้ เพราะถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ร้องทุกข์หรือ "ยังไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย" ผู้เสียหายก็ต้องรีบฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน ไม่เช่นนั้น คดีจะขาดอายุความฟ้องเองก็ไม่ได้

คดีที่กฎหมาย บัญญัติว้ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น คดีอาญาความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค คดียักยอก คดีฉ้อโกง คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีข่มขืนต่อผู้ที่อายุเกิน 15 ปี (ซึ่งต้องไม่เป็นการรุมโทรม, ไม่ได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้ใช้อาวุธ ไม่ได้กระทำต่อบุตร หรือผู้ที่อยู่ในปกครอง และผู้เสียหาย ไม่ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย) ฯลฯ ดังนั้นนอกจากจะต้องแจ้งความหรือฟ้องคดีเองภายใน 3 เดือนแล้ว คำแจ้งความร้องทุกข์นั้นจะต้องเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายด้วย ไม่เช่นนั้น จะถือเท่ากับว่า ยังไม่มีการร้องทุกข์ ดังนั้นถ้าเกิน 3 เดือน ผู้เสียหายจะนำคดีมาฟ้องเองก็ไม่ได้

ส่วนที่สำคัญของการร้องทุกข์คือว่า ผู้เสียหายจะต้องกล่าวหาโดยมีเจตนาที่จะให้ผู้กระทำความผิด ได้รับโทษ แต่เราจะพบบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายไปแจ้งความไว้ แต่ลงบันทึกประจำวันไว้ว่า "แจ้งไว้ เป็นหลักฐาน" เช่น บางครั้งผู้เสียหายยังต้องการจะเจรจากับผู้ต้องหา เมื่อได้แจ้งข้อเท็จจริงกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ก็จะระบุไว้ว่า แจ้งเป็นหลักฐานเพื่อ ไม่ให้คดีขาดอายุความ แจ้งไว้เพื่อนำเรื่อง ไปจัดการเอง แจ้งว่าถูกข่มขืน แต่จะดูไปก่อน ถ้าผู้ต้องหาย้อนมาอีกก็จะเอาเรื่องถ้าไม่มาอีกก็แล้วไป เหล่านี้ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายเพราะเป็นการแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ถือว่าขณะนั้นยังไม่มีเจตนา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีผู้กระทำความผิด เท่ากับยังไม่ได้มีการร้องทุกข์ ดังนั้นผู้เสียหายจึงต้อง ไปร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ภายใน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นถ้าเกิน 3 เดือนคดีจะขาดอายุความ

สำเนาในใบบันทึกประจำวันที่ส่งมาให้ดูนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นการไปแจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจ ในการสอบสวน เพราะยังไม่ถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย ถ้าหากยังไม่เกิน 3 เดือน คุณก็อาจจะไปแจ้งความร้องทุกข์ใหม่ให้ถูกต้องหรือฟ้องคดีเองก็ได้ แต่นี่เกิน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุแล้วคดีขาดอายุความร้องทุกข์และคุณฟ้องเองก็ไม่ได้ 


สรุป

-ถ้าโดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้ครับ

 ถ้าแจ้งความภายใน3เดือน อายุความจะอยู่ที่10ปีคือ คดีจะติดตัว ผู้กระทำผิดให้ตำรวจได้ตามจับ หรือยื่นเรื่องฟ้องร้องได้ภายใน10ปี อ้างอิง คือหนีไปเหอะ10ปีเอง555



สารพัดกลโกง “แชร์ลูกโซ่” เกิดง่ายรวยเร็ว

แม้จะมีการปราบปรามกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้ามือแชร์ลูกโซ่ แต่เรื่องก็เงียบหายไประยะหนึ่ง จากนั้นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ก็เกิดขึ้นมาอีก ด้วยรูปแบบของตัวสินค้าที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่าจะอุปโลกน์อะไรมาเป็นสินค้า แต่เป้าหมายทุกอย่างยังเหมือนเดิมคือดูดเงินจากคนอื่นเข้ากระเป๋าตัวเอง
       
        วิธีการของแชร์ลูกโซ่นั้นส่วนใหญ่มักมุ่งไปที่กลุ่มคนโลภ อยากได้ผลตอบแทนสูง ๆ โดยที่มีขั้นตอนในการลงทุนที่ไม่ยุ่งยาก โชว์ตัวเลขให้เห็นว่าได้ผลตอบแทนมากว่าเงินลงทุนหลายเท่าตัว หลักการแบบนี้สามารถกวาดคนได้ทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้กระทั่งคนที่มีการศึกษาสูง
         ดังนั้น การสร้างภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตั้งแต่ชื่อบริษัทต้องฟังแล้วทันสมัยหรือเป็นสากล สถานที่ทำการต้องหรูหรา ห้องสัมมนาในโรงแรมหรู การแต่งกายของทีมงานไม่แตกต่างจากนักธุรกิจ ผูกไท ใส่สูท มีแบบฟอร์มพนักงาน
       
        ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้บรรยายจะเป็นคนที่มีศิลปะในการพูด พูดทำให้คนคล้อยตามได้ พูดแล้วคนที่มาฟังต้องอยากเป็นสมาชิก แม้ไม่มีเงินก็ขวนขวายที่จะกู้ยืมคนอื่นมาเพื่อมาลงทุน
       
        ในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีอีกหลายรายที่ยังเปิดให้บริการอยู่ บางรายคือลูกทีมของแชร์ข้าวสารที่แยกตัวออกมาตั้งกิจการเอง เนื่องจากทราบถึงหลักการใหญ่ของแชร์ข้าวสารแล้วนำมาปรับใช้เป็นของตัวเอง
       
        การเปิดบริษัทใหม่เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายเพียงแค่ไปขอจดทะเบียนในรูปบริษัทกับพาณิชย์จังหวัดหรือที่กระทรวงพาณิชย์ จากนั้นก็ดำเนินการได้เลย เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่จะเข้ามาตรวจสอบในช่วงเริ่มแรก
       
        เมื่อมีหลายเจ้าดังนั้นการกำหนดผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะถือว่าเป็นตัวเลขที่จะเรียกลูกค้าได้ดี รวมถึงเรื่องของวันที่กำหนดให้มารับเงินปันผลแต่ละงวดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
       

        ตัวอย่างที่เชียงใหม่นั้นกำหนดราคาสินค้าไว้ที่ 1,450 บาท หากไม่รับสินค้าคืนเงิน 800 บาท ซึ่งผู้ที่ต้องการเข้าไปลงทุนนั้นไม่ได้ต้องการสินค้าอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการเงินปันผลที่จะได้รับตามที่เจ้าของแชร์กำหนดไว้ เงินลงทุนเริ่มแรกจึงเท่ากับ 650 บาท จากนั้นอีก 25 วันรับเงินคืน 1,200 บาทและอีก 50 วันรับคืนอีก 800 บาท
       
        สมมติให้กลุ่มแรกที่เข้าไปลงทุนมี 5 คน ลงทุนคนละ 650 บาทเท่ากับเจ้าของได้เงินไปทั้งสิ้น 3,250 บาท วันถัดมาเริ่มกลุ่มที่ 2 เข้ามาหากมีเข้ามาอีก 30 คนเจ้าของจะได้เงินไป 19,500 บาท จากนั้นมีกลุ่มที่ 3 เข้ามาอีก 500 คนจะมีเงินไหลไปที่เจ้าของอีก 325,000 บาท เอาเป็นว่าพอรับกลุ่มที่สามเสร็จครบกำหนด 25 วันพอดี เจ้าของแชร์จะมีเงินอยู่ในมือ 347,750 บาท แต่จ่ายให้กับกลุ่มแรกไปเพียง 6,000 บาท เหลือเงิน 341,750 บาท
       
        จากนั้นก็รับลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ อีกสมมติว่าได้ลูกค้ารอบหลังอีก 1,000 คน จะได้เงินเข้ามาอีก 650,000 บาท เจ้าของจะมีเงินในมือ 991,750 บาท หากกลุ่ม 2 ครบกำหนด 25 วันก็จ่ายเงินคืน 36,000 บาท และถ้าครบช่วง 50 วันที่จะต้องจ่ายเงินให้กับกลุ่มที่ 1 อีก 4,000 บาท เจ้ามือยังเหลือเงินอีก 951,750 บาท
หลักการของแชร์ลูกโซ่คือการเอาเงินค่าซื้อสินค้าของสมาชิกรายใหม่มาให้กับเจ้าของแชร์แล้วนำมาจ่ายต่อให้กับสมาชิกที่เข้ามาก่อนหน้าเท่านั้นเอง นั่นคือตัวธุรกิจนี้จะอยู่ได้ด้วยเงินของสมาชิกใหม่เท่านั้น หากมีสมาชิกใหม่เข้ามาน้อยวงจรการจ่ายเงินคืนให้กับสมาชิกก็จะสะดุดลง
       
        การกำหนดช่วงเวลาเช่น 25 วัน และหลังจากจ่ายครั้งแรกอีก 50 วันนั้นถือเป็นการประมาณการว่าในช่วงเวลาประมาณ 75 วันนั้นน่าจะเพียงพอที่จะหาสมาชิกใหม่เข้ามาจ่ายเงินให้กับเจ้าของและสมาชิกรุ่นก่อนหน้านี้ได้
       
        ในช่วงแรกที่ทุกคนตาโตกับตัวเลขของรายได้ เจ้าของแชร์อาจจะไม่มีเงื่อนไขให้สมาชิกเก่าต้องชักชวนสมาชิกใหม่เข้ามา แต่ถ้าประเมินแล้วว่ายอดสมาชิกใหม่เริ่มอืดก็อาจมีการให้ผลตอบแทนสำหรับสมาชิกเก่าที่สามารถแนะนำสมาชิกใหม่
       
        ตัวเลขที่ยกตัวอย่างนั้นเป็นการสมมติให้ทุกคนลงทุนคนละ 1 หุ้นหรือ 650 บาท ตัวเลขสมาชิกที่เข้ามาแต่ละชุดอาจจะมาหรือน้อยกว่าตัวเลขที่ยกมาก็ได้ เพราะผู้ที่เข้ามาลงทุนจริงๆ แล้วไม่ได้เข้ามาซื้อแค่คนละ 1 หุ้นแน่นอน บางคนลงทุนครั้งแรกกันเป็นแสน ลองคิดดูให้ดีว่าเจ้าของแชร์จะถือครองเงินเป็นล้าน ๆ บาทภายในเวลาไม่กี่วัน
       
        หากต้องการได้เงินที่มากกว่านี้เจ้าของแชร์ก็ต้องบริหารจัดการในเรื่องการหาสมาชิกใหม่ให้ดีพร้อมทั้งจัดสรรเงินให้กับสมาชิกในช่วงแรกๆ ให้ดีเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อจะได้ให้คนที่เป็นสมาชิกเอาไปบอกต่อ ถือเป็นการทำประชาสัมพันธ์ให้กับกิจการตัวเอง แม้ในบางช่วงยอดลูกค้าใหม่อาจจะไม่ตามเป้า ต้องควักเงิน(คนอื่น) จ่ายออกไปบ้างก็ตาม ตราบใดที่ยอดสมาชิกใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่องแล้วละก็โอกาสล้มก็จะช้าออกไป
       
        เกมนี้เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ไม่มีรายใหม่เข้ามาถือว่าจบเกม แน่นอนว่าตัวเจ้าของจะทราบว่าสถานการณ์ในขณะนั้นควรจะสู้ต่อหรือเผ่น


ฉ้อโกงประชาชน


มาตรา  343    ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน” หรือด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

กฏหมายอาญา มาตรา 341 ฉ้อโกง

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน ฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ