การ กระทำความผิดอาญาโดยทั่วไปผู้เสียหายจะต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงจะมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจดำเนินคดีให้ผู้เสียหายได้ หลักเกณฑ์การร้องทุกข์หรือที่เราเรียกกันว่าง่าย ๆ ว่า "การแจ้งความ" นั้น คือ การที่ผู้เสียหายกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นไม่ว่า จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้วามผิด เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็สามารถดำเนินการได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้ร้องทุกข์ ก็ตาม
โดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ แต่ ถ้าเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เช่น คดีขัดต่อศีลธรรมอันดี ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย เช่น คดีฆ่าคนตาย ลักทรัพย์ คดีรุมโทรม หรือข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เหล่านี้ หากพบการกระทำคสรุป
-ถ้า
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่า ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีเอง ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำ ความผิด หมายความว่าถ้าผู้เสียหายร้องทุกข์ไว้ภายใน 3 เดือน คดีก็สามารถดำเนินต่อไปได้ และต่อมา ถ้าผู้เสียหาย จะฟ้องคดีเองอีกก็ได้ เพราะถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้ร้องทุกข์หรือ "ยังไม่เป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย" ผู้เสียหายก็ต้องรีบฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน ไม่เช่นนั้น คดีจะขาดอายุความฟ้องเองก็ไม่ได้
คดีที่กฎหมาย บัญญัติไว้ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น คดีอาญาความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค คดียักยอก คดีฉ้อโกง คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีข่มขืนต่อผู้ที่อายุเกิน 15 ปี (ซึ่งต้องไม่เป็นการรุมโทรม, ไม่ได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้ใช้อาวุธ ไม่ได้กระทำต่อบุตร หรือผู้ที่อยู่ในปกครอง และผู้เสียหาย ไม่ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย) ฯลฯ ดังนั้นนอกจากจะต้องแจ้งความหรือฟ้องคดีเองภายใน 3 เดือนแล้ว คำแจ้งความร้องทุกข์นั้นจะต้องเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมายด้วย ไม่เช่นนั้น จะถือเท่ากับว่า ยังไม่มีการร้องทุกข์ ดังนั้นถ้าเกิน 3 เดือน ผู้เสียหายจะนำคดีมาฟ้องเองก็ไม่ได้
ส่วนที่สำคัญของการร้องทุกข์คือว่า ผู้เสียหายจะต้องกล่าวหาโดยมีเจตนาที่จะให้ผู้กระทำความผิด ได้รับโทษ แต่เราจะพบบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายไปแจ้งความไว้ แต่ลงบันทึกประจำวันไว้ว่า "แจ้งไว้ เป็นหลักฐาน" เช่น บางครั้งผู้เสียหายยังต้องการจะเจรจากับผู้ต้องหา เมื่อได้แจ้งข้อเท็จจริงกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ก็จะระบุไว้ว่า แจ้งเป็นหลักฐานเพื่อ ไม่ให้คดีขาดอายุความ แจ้งไว้เพื่อนำเรื่อง ไปจัดการเอง แจ้งว่าถูกข่มขืน แต่จะดูไปก่อน ถ้าผู้ต้องหาย้อนมาอีกก็จะเอาเรื่องถ้าไม่มาอีกก็แล้วไป เหล่านี้ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายเพราะเป็นการแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ถือว่าขณะนั้นยังไม่มีเจตนา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีผู้กระทำความผิด เท่ากับยังไม่ได้มีการร้องทุกข์ ดังนั้นผู้เสียหายจึงต้อง ไปร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ภายใน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นถ้าเกิน 3 เดือนคดีจะขาดอายุความ
สำเนาในใบบันทึกประจำวันที่ส่งมาให้ดูนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นการไปแจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจ ในการสอบสวน เพราะยังไม่ถือว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย ถ้าหากยังไม่เกิน 3 เดือน คุณก็อาจจะไปแจ้งความร้องทุกข์ใหม่ให้ถูกต้องหรือฟ้องคดีเองก็ได้ แต่นี่เกิน 3 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุแล้วคดีขาดอายุความร้องทุกข์และคุณฟ้องเองก็ไม่ได้
สรุป
-ถ้าโดนกันหลายคนให้รวบรวมรายชื่อให้ได้มากที่สุด ให้มีผู้เสียหายร่วมแจ้งความมากที่สุดเอามันโรงพักเดียวนั่นแหละ ถ้าเป็นผู้กระทำผิดรายเดียวกัน มิเช่นนั้น ถ้าทยอยไปแจ้งความ มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะปัดความรับผิดชอบโดยจะให้ไปแจ้งในเขตที่เราโอนเงิน ซึ่งถ้ารวมตัวกันไปหรือแจ้งสื่อมวลชนด้วยจะไม่เกิดปัญหานี้ครับ
ถ้าแจ้งความภายใน3เดือน อายุความจะอยู่ที่10ปีคือ คดีจะติดตัว ผู้กระทำผิดให้ตำรวจได้ตามจับ หรือยื่นเรื่องฟ้องร้องได้ภายใน10ปี อ้างอิง คือหนีไปเหอะ10ปีเอง555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น