วิธีสังเกตธุรกิจขายตรงแอบแฝงที่เข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่
1. พิจารณาจากจำนวนสินค้า หรือสิ่งของที่ได้รับจากการร่วมลงทุนในธุรกิจ หากมีการซื้อขายแต่ว่าไม่ได้รับสินค้าหรือสิ่งของใดในการร่วมลงทุน ให้ระวังไว้ว่า ท่านอาจกำลังตกเป็นเหยื่อในการหลอกลวง
2. หากได้รับสินค้าจากการลงทุนทำธุรกิจแชร์ แต่สินค้าที่ได้มาในการลงทุนไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ต้องเสียไป เช่น การฉ้อโกงธุรกิจแชร์น้ำมันเครื่อง หรือธุรกิจแชร์อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ จะถูกหลอกให้ ร่วมลงทุน แล้วต้องหาลูกค้ารายอื่นๆ เข้ามาร่วมลงทุนต่อๆกันไป โดยแต่ละรายต้องลงทุนไปจำนวนเงิน 20,000 บาท แต่ได้สินค้าตอบแทนมาเพียงเล็กน้อย เช่น อุปกรณ์ล้างรถ และกระป๋องน้ำยาขัดรถ ราคารวมประมาณ1,500 บาท เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ทันทีว่า ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ชำระไป ซึ่งการกระทำโดยการให้สิ่งตอบแทนที่ไม่คุ้มกับราคานี้ เป็นเพียงการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ให้มีลักษณะดูเสมือนว่าเป็นการซื้อขาย กันจริงเท่านั้น
3. ในกรณีการชักชวนทำธุรกิจที่ไม่มีสินค้า แต่แอบแฝงมาในรูปแบบของบริการหรือมีลักษณะที่ไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ เช่น ชักชวนลงทุนทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในจัดทำเว็บไซต์ โดยจะมีการชักชวนประชาชนว่าเป็นการเข้าไปสมัครเช่า Hosting และทำธุรกิจโดยการให้เช่าพื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ในลักษณะเช่าต่อๆกันไปหลายราย ดูเสมือนว่า มีการซื้อขายของกันจริง แต่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จะทราบดีว่าการเปิดเว็บไซต์ในแต่ละเว็บไซต์จะมีค่าใช้จ่ายน้อยมาก ฟรีเว็บไซต์เลยก็มี และเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ที่ทำการเปิดแทบที่จะมีค่าน้อยหรือไม่มีค่าใดๆเลย และที่สำคัญคนที่ต้องการจะจัดทำเว็บไซต์จริงๆแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาขอเช่าพื้นที่จากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวแต่อย่างใด
4. พิจารณาจากรายได้ผลตอบแทน จากการประกอบการของธุรกิจที่มีการชักชวนให้ร่วมลงทุน หากผลประกอบการมีลักษณะที่สูงเกินกว่าปกติ ที่สามัญชนในการประกอบการค้าประเภทนั้นๆ พึงได้ ให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเข้าข่ายลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจแชร์ ที่ผิดกฎหมาย และอาจถูกหลอกลวงได้
5. การทำธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนร่วมลงทุนในลักษณะเครือข่าย หรือลักษณะแชร์ลูกโซ่ หากถูกต้องตามกฎหมาย ธุรกิจเหล่านี้จะต้องทำการจดทะเบียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยต้องทำการชี้แจงแผนการทำตลาดให้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ทราบในรายละเอียดของการประกอบธุรกิจที่ชัดเจนทุกขั้นตอน
6. พิจารณาจากที่ทำการที่ตั้งอันเป็นหลักแหล่งของผู้ประกอบการรวมทั้งการติดต่อของผู้ชักชวนให้ประกอบธุรกิจร่วมว่า มีที่ตั้งของสำนักงานในการประกอบธุรกิจที่แน่นอนหรือไม่ และสามารถที่จะติดต่อได้ตลอดเวลาทำการหรือไม่ หากมีการย้ายที่ประกอบการไปมาบ่อยครั้ง ปิดเว็บไซต์ หรือไม่สามารถที่จะติดต่อได้ น่าจะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อประสงค์ฉ้อโกงประชาชน
วิธีการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง
อย่าหลงเชื่อบุคคลหรือบริษัทที่ชักชวนให้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจใดๆ ก็ตามที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากมีการเร่งรัดให้นำเงินมาลงทุน ขอให้พึงทราบได้เลยว่ากำลังจะถูกหลอกลวง ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินทองและทรัพย์สินในที่สุด นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลของบุคคลหรือบริษัทอย่างรอบคอบว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และตรวจสอบเอกสารที่ได้มาว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบในการออกเอกสารดังกล่าว และหากพบเห็น สงสัย หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าว โปรดแจ้ง “ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร.1359 หรือ ตู้ ป.ณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500 หรือ 1359@mof.go.th ”
1. พิจารณาจากจำนวนสินค้า หรือสิ่งของที่ได้รับจากการร่วมลงทุนในธุรกิจ หากมีการซื้อขายแต่ว่าไม่ได้รับสินค้าหรือสิ่งของใดในการร่วมลงทุน ให้ระวังไว้ว่า ท่านอาจกำลังตกเป็นเหยื่อในการหลอกลวง
2. หากได้รับสินค้าจากการลงทุนทำธุรกิจแชร์ แต่สินค้าที่ได้มาในการลงทุนไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ต้องเสียไป เช่น การฉ้อโกงธุรกิจแชร์น้ำมันเครื่อง หรือธุรกิจแชร์อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ จะถูกหลอกให้ ร่วมลงทุน แล้วต้องหาลูกค้ารายอื่นๆ เข้ามาร่วมลงทุนต่อๆกันไป โดยแต่ละรายต้องลงทุนไปจำนวนเงิน 20,000 บาท แต่ได้สินค้าตอบแทนมาเพียงเล็กน้อย เช่น อุปกรณ์ล้างรถ และกระป๋องน้ำยาขัดรถ ราคารวมประมาณ1,500 บาท เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ทันทีว่า ไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่ชำระไป ซึ่งการกระทำโดยการให้สิ่งตอบแทนที่ไม่คุ้มกับราคานี้ เป็นเพียงการหลีกเลี่ยงกฎหมาย ให้มีลักษณะดูเสมือนว่าเป็นการซื้อขาย กันจริงเท่านั้น
3. ในกรณีการชักชวนทำธุรกิจที่ไม่มีสินค้า แต่แอบแฝงมาในรูปแบบของบริการหรือมีลักษณะที่ไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ เช่น ชักชวนลงทุนทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่ในจัดทำเว็บไซต์ โดยจะมีการชักชวนประชาชนว่าเป็นการเข้าไปสมัครเช่า Hosting และทำธุรกิจโดยการให้เช่าพื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ในลักษณะเช่าต่อๆกันไปหลายราย ดูเสมือนว่า มีการซื้อขายของกันจริง แต่ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จะทราบดีว่าการเปิดเว็บไซต์ในแต่ละเว็บไซต์จะมีค่าใช้จ่ายน้อยมาก ฟรีเว็บไซต์เลยก็มี และเว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์ที่ทำการเปิดแทบที่จะมีค่าน้อยหรือไม่มีค่าใดๆเลย และที่สำคัญคนที่ต้องการจะจัดทำเว็บไซต์จริงๆแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาขอเช่าพื้นที่จากกลุ่มธุรกิจดังกล่าวแต่อย่างใด
4. พิจารณาจากรายได้ผลตอบแทน จากการประกอบการของธุรกิจที่มีการชักชวนให้ร่วมลงทุน หากผลประกอบการมีลักษณะที่สูงเกินกว่าปกติ ที่สามัญชนในการประกอบการค้าประเภทนั้นๆ พึงได้ ให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเข้าข่ายลักษณะของการฉ้อโกงประชาชนให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจแชร์ ที่ผิดกฎหมาย และอาจถูกหลอกลวงได้
5. การทำธุรกิจโดยการชักชวนประชาชนร่วมลงทุนในลักษณะเครือข่าย หรือลักษณะแชร์ลูกโซ่ หากถูกต้องตามกฎหมาย ธุรกิจเหล่านี้จะต้องทำการจดทะเบียนต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยต้องทำการชี้แจงแผนการทำตลาดให้ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ทราบในรายละเอียดของการประกอบธุรกิจที่ชัดเจนทุกขั้นตอน
6. พิจารณาจากที่ทำการที่ตั้งอันเป็นหลักแหล่งของผู้ประกอบการรวมทั้งการติดต่อของผู้ชักชวนให้ประกอบธุรกิจร่วมว่า มีที่ตั้งของสำนักงานในการประกอบธุรกิจที่แน่นอนหรือไม่ และสามารถที่จะติดต่อได้ตลอดเวลาทำการหรือไม่ หากมีการย้ายที่ประกอบการไปมาบ่อยครั้ง ปิดเว็บไซต์ หรือไม่สามารถที่จะติดต่อได้ น่าจะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อประสงค์ฉ้อโกงประชาชน
วิธีการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวง
อย่าหลงเชื่อบุคคลหรือบริษัทที่ชักชวนให้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจใดๆ ก็ตามที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากมีการเร่งรัดให้นำเงินมาลงทุน ขอให้พึงทราบได้เลยว่ากำลังจะถูกหลอกลวง ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินทองและทรัพย์สินในที่สุด นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข้อมูลของบุคคลหรือบริษัทอย่างรอบคอบว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และตรวจสอบเอกสารที่ได้มาว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบในการออกเอกสารดังกล่าว และหากพบเห็น สงสัย หรือได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าว โปรดแจ้ง “ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร.1359 หรือ ตู้ ป.ณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500 หรือ 1359@mof.go.th ”