โรคเก๊าต์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายทำให้กรดยูริคในเลือดสูง และกรดยูริคนี้จะเป็นผลึกไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆของร่างกาย ถ้าเกาะตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือข้อเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเป็นๆหายๆ ถ้าไม้ได้รับการรักษาอาการจะรุนแรงขึ้นจนข้อพิการได้ นอกจากของการรักษาของแพทย์แล้ว การรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคได้เป็นอย่างดี
1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภท เครื่องในสัตว์ กะปิ ปลากระป๋อง ไข่ปลา น้ำต้มเนื้อ ยอดผักโขม ชะอม ถั่วเมล็ดแห้ง
2. งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการขับถ่ายกรดยูริคได้น้อยลง
3. อาหารประเภทนม เนยสด เนยแข็ง ไข่ ข้าว ผลไม้ สามารถรับประทานได้อย่างปกติ
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน
- น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้ง
- ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ
- ผลไม้กวนและผลไม้เชื่อม
- น้ำหวานต่าง ๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- ผลไม้รสหวานจัดเช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด อ้อย
2. อาหารที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณ
- อาหารพวกแป้ง เช่น ข้าว เผือก มัน ถั่ว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง มักกะโรนี
- อาหารไขมันสูง เช่นขาหมู่ ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น อาหารทอด
- ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่นหัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม
- ผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย
3. อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด
- ผักทุกชนิด (ยกเว้นที่มีแป้งมาก)
- อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไห่ วัว ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น
ข้อเท้าแผลงทำอย่างไร
1. หยุดการลงน้ำหนักบนเท้านั้น หลีกเลี่ยงการเดินมาก ๆ พันผ้ายืดเพื่อลดการเคลื่อนไหว
2. ยกเท้าสูงเพื่อให้เลือดและของเสียไหลกลับได้ดีขึ้น
3. ชั่วโมงแรก ประคบความเย็น 15-20 นาที เพื่อลดบวม หลังจากนั้นประคบด้วยความร้อนเพื่อเป็นการซ่อมแซม หากมีการบวมหรือปวดมากและนานผิดปกติควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
ปวดคอเนื่องจากนอนตกหมอน
คอตกหมอนจะมีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน มักจะเกิดหลังจากตื่นนอน มีวิธีแก้ไขดังนี้
1. พักผ่อนโดยการนอนราบชั่วคราว เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก
2. ถ้าปวดคอภายใน 24 ช.ม. ควรประคบด้วยถุงผ้าหอน้ำแข็ง10-15 นาที
3. ถ้าปวดนานกว่า 24 ช.ม.ประคบร้อนด้วยถุงน้ำร้อน ผ้าชุบน้ำอุ่น 15-20 นาที
4. รับประทานยาเพื่อลดปวด
5. การยืดคอด้วยตนเองทำได้โดยดึงศรีษะไปในทิศทางที่หันไม่ได้ ช้า ๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 30 นาที ทำชุดละ 3-10 ครั้งวันละ 3 ชุด
6. ไม่ควรนวดในระยะปวดเฉียบพลันเพราะจะทำให้ปวดมาก หากยังไม่หายให้พบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
เป็นลมหรือหมดสติ
- ให้จับผู้ป่วยนอนราบลง ไม่ต้องหมุนหมอนให้ตะแคงหน้าไปด้านหนึ่ง เพื่อกันสำลักถ้าอาเจียนหรือมีเสมหะ
- ขยายเสื้อผ้าให้หลวมโดยเฉพาะบริเวณคอ
- ถ้าอากาศร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า
- ถ้าผู้ป่วยตัวเย็นก็ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
- ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัว อย่าพยายามให้ดื่มน้ำหรือกรอกยา เพราะอาจสำลักเข้าปอดได้ง่าย ๆ
เล็บขบเจ็บจัง
เมื่อขอบเล็บด้านนอกงอกเข้าไปในเนื้อ หรือเกิดอุบัติเหตุทำให้เล็บขบจนรู้สึกปวด มีวิธีแก้ไขดังนี้
- ไม่ควรตัดเล็บให้โค้งมน ให้ตัดตรง ๆ จะได้ป้องกันไม่ให้เล็บงอกเกินขอบจนฝังเข้าไปในเนื้อได้
- ถ้าเล็บงอกเข้าไปในเนื้อ ให้ตัดเล็บส่วนนั้นออกไป และจุ่มเท้าในน้ำอุ่น
- ใช้เศษผ้าฝ้ายหรือแผ่นสำลีบาง ๆ แทรกตรงมุมเล็บ จนกว่าเล็บจะงอกออกมา
- ถ้าเป็นมากจนเล็บตัดออกไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์
เมื่อถูกตีหรือกระแทกบริเวณลูกตา
- ปิดตาข้างที่บาดเจ็บด้วยผ้าที่สะอาด
- ใช้ผ้าพันทับอีกครั้ง แต่อย่าใช้แรงกดลงบนลูกตา
- การปิดตาทั้ง 2 ข้างจะเป็นการป้องกันการเคลื่อนไหวของตาข้างปกติ
- ประคบด้วยน้ำเย็น
- รีบไปพบแพทย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น