ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย มีน้ำหนัก 1,200-1,500 กรัม ในผู้ใหญ่ในเด็กขนาดตับจะใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของร่างกายลักษณะคล้ายตับหมู
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนโรงงานเคมีที่สำคัญที่สุด เพราะหน้าที่มากมาย เช่น เปลี่ยนสภาพของสารอาหารจำพวกโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ที่กินเข้าไปให้อยู่ในสภาพใช้ได้
ทำหน้าที่เป็นคลัง โดยตับจะเก็บกลัยโคเจนไขมันฯลฯ เอาไว้และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
ทำหน้าที่สังเคราะห์ เช่น สร้างโปรตีนต่าง ๆ เช่น สร้างโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว (ไฟบริโนเจน) แอลบูมิน และสร้างน้ำดี ทำหน้าที่กำจักสารพิษหรือยาที่เราทานเข้าไป
โดยเหตุที่ตับทำหน้าที่มากมาย เมื่อตับเป็นโรคจึงกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายอย่างมาก โรคตับมีมากมายหลายสิบชนิดโดยในประเทศไทยรู้จักกันดีในคำว่า ตับอักเสบ จึงพบว่า เป็นการอักเสบจากไวรัสมากที่สุด
โรคตับอักเสบจากไวรัส หมายถึง โรคทีเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสทำให้เกิดการอักเสบที่ตับโดยตรง และกระจายไปทั่วทั้งตับมนุษย์พบพันธ์นี้มานานกว่า 2,000 ปี จนเมื่อ 30 ปีมานี้เองมีการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมายที่เกี่ยวกับไวรัสและกำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่
1. ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม
2. ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อโดยการรับเลือด ผลผลิตจากเลือดหรือเข็มฉีดยา
3. ไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อคล้ายไวรัสบี
4. ไวรัสตับอักเสบดี ยังไม่พบข้อมูลที่แน่นอน
5. ไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อคล้ายไวรัสเอ
ประวัติและอาการ
โดยปกติตับอักเสบจากไวรัสเอ,บี,ซี,ดี,อี มีอาการคล้ายคลึงกันมาก จนแยกกันไม่ได้แต่ลนิด บี จะรุนแรงกว่าชนิดอื่น
อาการเริ่มแรกจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว ต่อมามีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร (ทานยาแก้หวัดจะไม่ดีขึ้น) มีคลื่นไส้อาเจียน จะอ่อนเพลียมาก หลังจากมีไข้ 4-5 วัน หรือหลังจากอาเจียน 2-3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มตาเหลือง ตัวเหลืองและปัสสาวะสีเข้ม ช่วงที่มีตาเหลืองอาการไข้จะเริ่มหายไป คลื่อนไส้ อาเจียนก็ไม่มี เจริญอาหารสบายตัวขึ้นมาก แต่อาการตาเหลืองยังคงมีต่อไประยะหนึ่ง แต่ละคนอาจเร็วหรือช้าต่างกัน
มีผู้ป่วยบางรายเป็นตับอักเสบจากไวรัสโดยไม่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งจะตรวจได้โดยการตรวจเลือดดูสมรรถภาพของตับเท่านั้น
ดังนั้นหากท่านมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยได้แต่เนิ่น ๆ หรือทางที่ดีที่สุดก็คือ “ตรวจสุขภาพประจำปี” และ”ฉีดวัคซีน”
ด้วยความห่วงใยจาก….สมัย สำลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น