พบมากใน " หนุ่ม-สาวออฟฟิศ " ที่ต้องนั่งทำงานหน้า "คอมพิวเตอร์"
ท่า
เดิมนานๆ อยู่เป็นประจำโดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบท
เป็นเหตุนำมาซึ่งอาการ"ปวดทรมาน" จากปัญหา "หมอนรองกระดูกต้นคอ"
หากเกิดอาการเช่นนี้ แนะนำว่า "ควรรีบ"
ไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันทีเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำซ้อน
โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอหรือบริเวณรอบๆ
สะบักและมัก"ปวดร้าว" มาที่แขน หรือถ้าเป็นมากก็อาจจะ "ชาที่แขน" ร่วมด้วย
ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างตรงจุด
อาจได้รัการรักษาและทำกายภาพบำบัดในเรื่องของ "โรคกล้ามเนื้ออักเสบ"
ซึ่งจะได้ผลดีในระยะเริ่มต้น
แต่ในระยะยาวจะส่งผลให้ยิ่งมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก
"หมอนรองกระดูกต้นคอ" ไคลื่อนตัวไปกดทับเส้นประสาทแล้ว
อาการที่พบ ได้แก่ คอเคล็ด ปวดร้าวร่างกายซีกขวา บางรายไม่สมารถลุกเดินได้
ต้องนอนราบอย่างเดียว กระดิกตัวไม่ได้เลย แพทย์จะตรวจวินิจฉัยด้วย
เครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI ซึ่งจะพบว่าคนไข้มี
"หมอนรองกระดูกต้นคอ" แตกไปกดทับเส้นประสาท
ข้อแตกต่างระหว่าง "กล้ามเนื้ออักเสบ" กับ "หมอนรองกระดูกต้นคอ" นั้น
ให้สังเกตว่าถ้าผู้ป่วยเงยหน้าไม่ค่อยได้และมีอาการปวดแสดงว่ามีอาการเกี่ยว
กับ "หมอนรองกระดูก" แต่ถ้าเป็น "กล้ามเนื้ออักเสบ"
เวลาเงยหน้าจะรู้สึกสบายกว่า
ปัจจุบันสามารถรักษาโดยการ
"ผ่าตัดแบบแผลเล็ก" บริเวณต้นคอ เปิดแผลประมาณ2.5 เซนติเมตร
ทำให้ผู้ป่วยฟื้นสภาพเร็ว สามารถไปทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น
หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถลุก เดิน นั่ง ยืน เคลื่อนไหวแขนได้ทันที
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้อง "นั่งทำงาน" ในท่าเดิมนานๆ คือ
ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ้างเป็นระยะๆ
และออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังหรือกระดูกต้นคอส่วนนั้นให้แข็ง
แรงอยู่เสมอ
ก็จะช่วยลดอาการปวดและการเสื่อมสภาพของกระดูกได้ก่อนวัยอันควร+++